กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9799
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to work performance effectiveness of village soil improvement volunteers in Roi Et province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
โสพล ไกยะสินธุ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ร้อยเอ็ด--การทำงาน.
หมอดินอาสา
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานบางประการของหมอดินอาสาประจำ หมู่บ้าน ในจังหวัดร้อยเอ็ด (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่าได้ว่าหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน มีอายุเฉลี่ย 52 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 18.97 ไร่ มีรายได้รวมเฉลี่ย 55,655.36 บาทต่อปี มีทัศนคติระดับเห็น ด้วยต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ มีประสบการณ์การเป็นหมอดินอาสาเฉลี่ย 7 ปี และการดำเนินกิจกรรมต้านการ พัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายงานจากเจ้าหน้าที่และได้รับการสนันสบุนปัจจัยในการปฏิบัติงานและ มีความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีในด้านการจัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาที่ดินในหมู่บ้าน และการถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามปัญหาของชุมชน มีผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับพอใช้ในด้านการร่วมกิจกรรมการพัฒนาที่ดินที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ การประชาสัมพันธ์ การรายงานผลงาน และงานอื่น ๆ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ที่สำคัญได้แก่การขาดเครื่องมือติดต่อสื่อสาร การขาดเอกสารเผยแพร่ในการปฏิบัติงาน การขาดวัสดุอุปกรณ์ใน การทำงานการสาธิต หมอดินอาสามีความต้องการได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สำคัญ ได้แก่ ความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารวิชาการและการยอมรับจากสังคม จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน พบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ภาระหนีสิน ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ระยะ เวลาการเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน การได้รับมอบหมายงานจากเจ้าหน้าที่ และจำนวนสิ่งที่ได้รับการ สนับสนุนการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9799
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83607.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons