กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/979
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศของนิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use by legal officers in the secretariat of The House of Representatives
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จเร พันธุ์เปรื่อง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นราภัทร เพชรมณี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
สารสนเทศ--การศึกษาการใช้
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศของนิติกรสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของนิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศของ นิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของนิติกร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิติกรสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการใช้สารสนเทศ โดยรวมในระดับปานกลาง จำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้าน วัตถุประสงค์การใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานด้านนิติบัญญัติและด้านนิติการมีการใช้ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของนิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจำแนกตามระดับ การศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่ามีการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วน นิติกรที่มีเพศต่างกันมีการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ปัญหาการใช้ สารสนเทศของนิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของนิติกรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจำแนกตาม ประสบการณ์การทำงาน พบว่ามีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนิติกรที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีปัญหาการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/979
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (19).pdfเอกสารฉบับเต็ม14.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons