กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9806
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืชของเกษตรกรในโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of herbivorous fish culture technology by farmers at Bhoo Sing Development Center, a Royal Project, Si Sa ket province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริ ทุกข์วินาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธรรม ลิ่มพานิช, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปลา--การเลี้ยง--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกษตรกร--ไทย--ศรีสะเกษ
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืช (3) แหล่งศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี การเลี้ยงปลากินพืช (4) การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืชของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ของเกษตรกรในโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้ปรากฎผลว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายูเฉลี่ย 49.4 ปี สำเร็จการศึกษา ภาคบังคับ สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.4 คน จำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3.15 คน อาชีพหลักปลูกพืช มี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 18.69 ไร่ พื้นที่เลี้ยงปลากินพืชเฉลี่ย 1.16 ไร่ มีประสบการณ์เลี้ยงปลากินพืชเฉลี่ย 3.06 ปี มีรายไค้จากการขายปลากินพืชเฉลี่ย 747.37 บาทต่อปี และมีต้นทุนการเลี้ยงปลากินพืชเฉลี่ย 1,236.37 บาทต่อปี (2) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืชระดับปานกลางและได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ประมง (3) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืชในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยยอมรับ เทคโนโลยีด้านการลำเลียงและการปล่อยพันธุปลาสู่บ่อเลี้ยงปลาในระดับมาก (4) เกษตรกรระบุว่าปัญหาที่สำคัญ ที่สุคของการเลี้ยงปลากินพืชคืออาหารปลาราคาแพง โดยมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควบคุมราคาอาหารปลาไม่ให้ แพงเกินไป ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความรู้พื้นฐาน ด้นทุน รายได้ และพื้นที่เลี้ยงปลากินพืช มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9806
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83609.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons