Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9809
Title: สภาพชุมชนและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของสมาชิกนิคมภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันของนิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Community situation and socio - economic change of settlers in the oil palm promotion project of Phrasaeng Self - Help Land Settlement, Surathani province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรินทร์ ไหมสุข, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สมาชิกนิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี--ภาวะเศรษฐกิจ
สมาชิกนิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี--ภาวะสังคม
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพชุมชนและสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการผลิต ปาล์มนํ้ามันของสมาชิกนิคม (2) การเปลี่ยนแปลงของชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการผลิต ปาล์มนํ้าม้นของสมาชิกนิคม (3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับครอบครัว กลุ่ม และชุมชน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนในนิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สมาชิกนิคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก ครัวเรือน ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสาธารณประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง มีลิ่งอำนวยความสะดวกในครัวเรือน ได้แก่ โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น รถจักรยานยนต์ การผลิตปาล์มนํ้ามันใส่ป๋ยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้แรงงานใน ครอบครัว ส่วนการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกนิคมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และระบบการผลิต พบว่า ก่อนเป็น สมาชิกนิคม มีอาชีพรับจ้าง รายได้น้อย มีหนี้สินน้อย บ้านเรือนไม่คงทน การได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ในการ ผลิตปาล์มนํ้ามันอยู่ในระดับน้อย การได้รับประโยชน์จากการให้บริการของภาครัฐ ค่อนช้างน้อย แต่ในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีหนี้สินเพิ่มขึ้นด้วย สภาพบ้านเรือนมี ความคงทนถาวร การได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ในการผลิตอยู่ในระดับปานกลาง การได้รับประโยชน์จาก การให้บริการของภาครัฐ อยู่ในระดับค่อนช้างมาก ผลกระทบจากการส่งเสริมการปลูกปาล์มนี้ามันทำให้ครอบ ครัว ชุมชนมีความเป็นอยู่ไปในแนวทางที่ดีขึ้น ในระดับค่อนช้างมากเช่นกัน ด้านปัญหาของสมาชิกนิคมที่สำคัญ ได้แก่ การมีอาชีพเสริมน้อย การมีหนี้สินกับนิคม ซึ่ง ไม่สามารถชำระหนี้และออกเอกสารสิทธิ้ในที่ดินได้ ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะและปัญหาขาดแหล่งนี้าใน ฤดูแล้ง โดยสมาชิกนิคมส่วนใหญ่ได้เสนอแนะให้ส่งเสริม อาชีพเสริมมากขึ้น ควรยกเลิกดอกเบี้ยเงินกู้ของ นิคม การบุกรุกที่สาธารณะควรทำสัญญาเช่าตามระเบียบของนิคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาแหล่ง นํ้าให้เพียงพอ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9809
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83615.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons