Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9812
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจth_TH
dc.contributor.authorสุพิน ศรีสอาดth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-29T03:58:17Z-
dc.date.available2023-09-29T03:58:17Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9812en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน 2) ศึกษาการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์จําแนกตามขนาดของสหกรณ์ 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ใช้วิธีระบุกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร 40 สหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละสหกรณ์ คือ ประธานกรรมการ รองประธาน เลขานุการ และผู้จัดการสหกรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและ เปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า 1) สหกรณ์ที่ศึกษาเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ มากที่สุด รองลงมา เป็นขนาดกลาง ขนาดใหญ่มาก และเป็นขนาดเล็กน้อยที่สุด สหกรณ์มีสมาชิกทั้งสิ้น จํานวน 89,145 คน มีคณะกรรมการดําเนินการทั้งสิ้น จํานวน 383 คน และมีทุนดําเนินงานทั้งสิ้น จํานวน 1,911,947,987.36 บาท 2) การนําหลักธรรมาภิบาลไป ประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีการใช้หลักธรรมาภิบาลในระดับดีมาก 2 ด้านคือ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม ตามลําดับ มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในระดับดี 3 ด้าน คือ หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส ตามลําดับ และมีการใช้หลักธรรมาภิบาลในระดับพอใช้ 1 ด้าน คือหลักความคุ้มค่า 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของการนําหลักธรรมา ภิบาล ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน จําแนกตามขนาดของสหกรณ์ โดยรวมพบว่า การบริหารงานของสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่มาก สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับดีมากทุกด้าน สหกรณ์ขนาดใหญ่ สามารถ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับดีมาก 2 ด้าน คือ หลักการมีส่วนร่วม และหลักนิติธรรม สหกรณ์ขนาดกลาง สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับดี 2 ด้าน คือ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม สหกรณ์ขนาดเล็ก สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับพอใช้ 4 ด้าน คือ หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ สหกรณ์ขนาดแตกต่างกันมีการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานแตกต่างกันตามขนาดของสหกรณ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ปัญหาและอุปสรรคการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน ในภาพรวม พบว่า ฝ่ายบริหารสหกรณ์บางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าในเรื่องหลักธรรมาภิบาล ฝ่ายบริหารสหกรณ์บางส่วนยังขาดทักษะการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและบุคลากรของสหกรณ์ขาดความพร้อมที่จะดําเนินกิจการหรือดําเนินการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีในสหกรณ์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์การเกษตร--การบริหารth_TH
dc.subjectธรรมรัฐth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleการนำหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativeImplementation of the good governance principles at Agricultural Cooperatives in Lamphun Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the condition of agricultural cooperatives in Lamphun Province; 2) to study the extent to which they implemented the principles of good governance in their management; 3) to compare the size of the cooperatives with the extent to which they followed the principles of good governance; and 4) to study obstacles to implementing the principles of good governance in the management of agricultural cooperatives in Lamphun Province. This was a survey research. The sample population was chosen through purposive sampling and consisted of 40 agricultural cooperatives in Lamphun Province. Data were collected using a questionnaire, which was answered by the chairman, vice chairman, secretary and manager of each cooperative. Data were statistically analyzed using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, one-way ANOVA and Scheffe’s pairwise comparisons. The results showed that 1) Most of the cooperatives studied were classified as large, followed by medium-sized and very large, and the fewest were classified as small. There were a total of 89,145 members, 383 board members, and total working capital of 1,911,947,987.36 baht. 2) Overall, the agricultural cooperatives implemented the principles of good governance to a good level. They received the highest scores (“Very good”) for implementing the principles of participation and following the rule of law, in that order. The scores were “good” for the principles of responsibility, ethics, and transparency, in that order. The score was only “acceptable” for the principle of worthwhile value. 3) By size, the very large cooperatives had a very good level of compliance for every principle; the large cooperatives had a very good level of compliance for participation and rule of law. The medium sized cooperatives had a good level of compliance for participation and rule of law and the small cooperatives had an acceptable level of compliance for ethics, responsibility, rule of law and participation. There was a statistically significant relationship (p<0.01) between size of cooperative and implementation of the principles of good governance. 4) The obstacles to the implementation of the principles of good governance were that some of the cooperative administrators still lacked good understanding of the principles; some of the administrators lacked skills for implementing the principles in management of the cooperatives; and the cooperative personnel lacked readiness to implement the principles in practical operations.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151380.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons