Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9812
Title: | การนำหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลำพูน |
Other Titles: | Implementation of the good governance principles at Agricultural Cooperatives in Lamphun Province |
Authors: | อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ สุพิน ศรีสอาด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--การบริหาร ธรรมรัฐ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน 2) ศึกษาการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์จําแนกตามขนาดของสหกรณ์ 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ใช้วิธีระบุกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร 40 สหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละสหกรณ์ คือ ประธานกรรมการ รองประธาน เลขานุการ และผู้จัดการสหกรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและ เปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า 1) สหกรณ์ที่ศึกษาเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ มากที่สุด รองลงมา เป็นขนาดกลาง ขนาดใหญ่มาก และเป็นขนาดเล็กน้อยที่สุด สหกรณ์มีสมาชิกทั้งสิ้น จํานวน 89,145 คน มีคณะกรรมการดําเนินการทั้งสิ้น จํานวน 383 คน และมีทุนดําเนินงานทั้งสิ้น จํานวน 1,911,947,987.36 บาท 2) การนําหลักธรรมาภิบาลไป ประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีการใช้หลักธรรมาภิบาลในระดับดีมาก 2 ด้านคือ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม ตามลําดับ มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในระดับดี 3 ด้าน คือ หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส ตามลําดับ และมีการใช้หลักธรรมาภิบาลในระดับพอใช้ 1 ด้าน คือหลักความคุ้มค่า 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของการนําหลักธรรมา ภิบาล ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน จําแนกตามขนาดของสหกรณ์ โดยรวมพบว่า การบริหารงานของสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่มาก สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับดีมากทุกด้าน สหกรณ์ขนาดใหญ่ สามารถ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับดีมาก 2 ด้าน คือ หลักการมีส่วนร่วม และหลักนิติธรรม สหกรณ์ขนาดกลาง สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับดี 2 ด้าน คือ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม สหกรณ์ขนาดเล็ก สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ในระดับพอใช้ 4 ด้าน คือ หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ สหกรณ์ขนาดแตกต่างกันมีการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานแตกต่างกันตามขนาดของสหกรณ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ปัญหาและอุปสรรคการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดลําพูน ในภาพรวม พบว่า ฝ่ายบริหารสหกรณ์บางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าในเรื่องหลักธรรมาภิบาล ฝ่ายบริหารสหกรณ์บางส่วนยังขาดทักษะการนําหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและบุคลากรของสหกรณ์ขาดความพร้อมที่จะดําเนินกิจการหรือดําเนินการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีในสหกรณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9812 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
151380.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License