กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9820
ชื่อเรื่อง: การประสานพลังในองค์การเพื่อสนับสนุนต่อการพัฒนานวัตกรรม : กรณีศึกษาบริษัทสุขภัณฑ์โมเอิน (เซี่ยงไฮ้) จำกัด ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational synergy for innovations development : a case study of Moen (Shanghai) Kitchen & Bath Products Company Limited, People's Republic of China
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนิวรรต ฤกษ์หร่าย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความสามัคคี
ความร่วมมือ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์ระดับธุรกิจของธุรกิจสุขภัณฑ์ห้องครัวและห้องนํ้าแห่งหนึ่ง ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) ศึกษาและคัดเลือกปัจจัยสําคัญในการประสานพลังเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ในสถานการณ์ที่จําเป็นจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานต่อปัจจัยในการ ประสานพลังเพื่อการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในสถานการณ์ที่จําเป็นที่องค์การได้ดําเนินการในปัจจุบันและที่คาดว่า องค์การควรจะดําเนินงานต่อไปในอนาคต 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยในการประสานพลังเพื่อการพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในสถานการณ์ที่จําเป็นที่คาดว่าองค์การควรจะดําเนินงานต่อไปในอนาคต จําแนกตามกลุ่มการตลาด และการออกแบบ และกลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 5) การกำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ของการประสานพลังเพื่อพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดขององค์การ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจโดยเป็นทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับสายการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการภายในองค์การจํานวน 35 คน และเก็บข้อมูล จากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามเพื่อ ประเมินระดับความสําคัญของปัจจัยในการพัฒนานวัตกรรมในสถานการณ์ที่จําเป็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสําหรับ ผู้บริหารระดับสูง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ประชากร และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลยุทธ์ระดับธุรกิจใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ การพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์จึงเป็นองค์ประกอบสําคัญในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์การ 2) ปัจจัยสําคัญในการประสาน พลังเพื่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่จําเป็นได้แก่ ปัจจัยบรรยากาศ/ทุนองค์กร ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การแบบแนวราบ และการเปรียบเทียบวัดผู้นํา ปัจจัยทุนข้อมูล ประกอบด้วยการสื่อสารแบบเปิด และการจัดการองค์ความรู้ปัจจัยการ จัดการทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย นโยบายพัฒนาภาวะผู้นําของพนักงาน การให้อํานาจลองผิดลองถูก และระบบการ พัฒนาระบบแรงจูงใจ ปัจจัยการจัดการสมรรถนะประกอบด้วย ระบบการสรรหาและจัดการดาวเด่น และ ปัจจัยวัฒนธรรม ประกอบด้วย วัฒนธรรมการทํางานเป็นทีม และปัจจัยนวัตกรรม ประกอบด้วย พันธมิตรทางการสร้างนวัตกรรม 3) ความคิดเห็น ของพนักงานต่อปัจจัยในการประสานพลังเพื่อการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในสถานการณ์ที่จําเป็นที่องค์การได้ ดําเนินการในปัจจุบันและที่คาดว่าองค์การควรจะดําเนินงานต่อไปในอนาคตไม่แตกต่างกัน 4)กลุ่มการตลาดและการ ออกแบบ และกลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความคิดเห็นต่อปัจจัยในการประสานพลังเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ในสถานการณ์ที่จําเป็นที่คาดวาองค์การควรจะดําเนินงานต่อไปในอนาคต ไม่แตกต่างกัน 5) การกำหนดแผนที่ ยุทธศาสตร์ของการประสานพลังเพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดขององค์การ ตามมุมมองของ Balanced Scorecard ในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต ปัจจัยสําคัญ คือบรรยากาศ/ทุนองค์การ ทุนข้อมูล การจัดการทรัพยากรบุคคล การจัดการสมรรถนะ และวัฒนธรรม และมุมมมองด้าน กระบวนการภายใน ได้แก่ ปัจจัยพันธมิตรทางการสร้างนวัตกรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9820
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151528.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons