Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9846
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorถนอมศักดิ์ ชัยยาคำ, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-02T04:29:31Z-
dc.date.available2023-10-02T04:29:31Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9846-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ของเกษตรกร (2 ) การยอมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของเกษตรกร (3 ) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การยอมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44.42 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษา ตอนต้น สมรสแล้ว จำนวนแรงงานจ้างทำการเกษตรต่อปีเฉลี่ย 14.27 คนต่อปี เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีอาชีพหลักทำนา รายได้ทั้งหมดในครัวเรือนรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 81,527.40 บาท รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 38,712.33 บาท พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 8.23ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของตนเอง แหล่งเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 68,664.38 บาท และแรงรูงใจที่ เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การยอมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรพบว่าในเชิงความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจและ ปัจจัยอื่น ๆ มีความเกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรจังหวัดลำปางอย่างมี นัยสำคัญได้แก่ รายได้ทั้งหมดในครัวเรือนต่อปี รายได้จากภาคเกษตรต่อปี รายจ่ายภาคการเกษตรต่อปี รายจ่าย นอกภาคเกษตรต่อปี จำนวนพื้นที่ถือครองทั้งหมด และแรงลูงใจที่เข้าร่วมกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร (4) ปัญหาของเกษตรกรต่อการดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในกิจกรรมการวิเคราะห์ระบบนิเวศและในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการวิเคราะห์ระบบนิเวศในช่วงเช้า บ่าย หรือเย็น มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ การจัดการแปลงพืชเป็นปัญหาสูงสุด โดยมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดตั้งโรงเรียน เกษตรกรให้ครบทุกหมู่บ้านที่มีปัญหาด้านการเกษตร แต่ไม่ควรดำเนินการในช่วงเกษตรกรเริ่มฤลูการทำนาหลัง การถ่ายทอดตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรแล้วมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่แนะนำและติดตามอย่างต่อเนื่อง ควรจัดทำแผนเสนอของบประมาณจากท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2006.138-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการถ่ายทอดเทคโนโลยี--ไทย--ลำปางth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--ลำปางth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีการเกษตรth_TH
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของเกษตรกรจังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeFactors relating to an adoption of technology transfer in the farmers' field school process by Farmers in Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2006.138-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100887.pdfเอกสารบับเต็ม5.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons