กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/984
ชื่อเรื่อง: | แนวคิดและรูปแบบการปกครองตนเองในจังหวัดปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The innovative idea and pattern of local self government in Pattani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ญาณิสร ประสงค์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ยุทธพร อิสรชัย |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- ปัตตานี ปัตตานี -- การเมืองและการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองตนเอง ในจังหวัดปัตตานี (2) รูปแบบการปกครองตนเองที่เหมาะสมในจังหวัดปัตตานี (3) ผลดีและผลเสียของรูปแบบการปกครองตนเองในจังหวัดปัตตานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 6 คน กลุ่มผู้นำกลุ่มมุสลิมในพื้นที่ จำนวน 3 คน กลุ่มข้าราชการในพื้นที่ จำนวน 3 คน และกลุ่มสื่อมวลชนในท้องถิ่น จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเป็นมาเกี่ยวกับการปกครองตนเองในจังหวัดปัตตานีเริ่มต้นเมื่อ คริสต์ศตวรรษที่ 13 นักประวัติศาสตร์รู้จักปัตตานีในนามของ ลังกาสุกะหรือลังกาโศกะ ต่อมาได้ทำสงครามกับสยามและพ่ายแพ้สงครามจึงตกเป็นเมืองขึ้นของสยามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยแบ่งการปกครองเป็น 7 หัวเมืองคือ เมืองปัตตานี เมืองยะลา เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองรามัน เมืองสายบุรี และเมืองหนองจิก ในตอนปลายของรัชกาลที่ 1 และแต่งตั้งผู้ครองหัวเมืองทั้งเจ็ดอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสงขลา (2) รูปแบบการปกครองตนเองที่เหมาะสมในจังหวัดปัตตานี จะเป็นการปกครองที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เอื้อต่อความแตกต่างหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม มีการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาในท้องถิ่นเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) สำหรับผลดีและผลเสียของรูปแบบการปกครองตนเองในจังหวัดปัตตานี ผลดีทำให้การปกครองมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การเมืองมีความโปร่งใส ความต้องการของประชาชนได้รับการตอบสนอง การเมืองการปกครองของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการเมืองการปกครองที่เอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนรวม เศรษฐกิจโปร่งใส สังคมเป็นหนึ่งเดียว คาดว่าผลเสียที่เกิดขึ้น อาจนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดปัตตานีได้ซึ่งจะทำให้ชาวไทยพุทธไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ได้ เพราะผู้นำจะเป็นมุสลิมและชาวไทยพุทธก็เป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม เศรษฐกิจปัตตานีจะพึ่งตนเองได้ลำบาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/984 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib130810.pdf | 22.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License