กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9853
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีก่อนและหลังเปิดกรีดยางของสมาชิกตลาดกลางยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An application of technology before and after rubber tapping by members of Para Rubber Central Market in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุริยะ คงศิลป์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกษตรกร--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจสังคมของสมาชิกตลาด กลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ความรู้และการใช้เทคโนโลยีก่อนและหลังการเปิดกรีด ยางของสมาชิกตลาดกลางยางพาราชังหวัดนครศรีธรรมราช 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การทำสวนยางของเกษตรกร จากการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างสมาชิกตลาดกลางยางพารา และตลาดเครือข่ายจำนวน 9 กลุ่ม สมาชิก 222 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป โดยใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นาหนักคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยมีอายุเฉลี่ย 49.02 ปี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนด้นมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 4.22 คน มีพื้นที่ลือครอง เฉลี่ย 40.28 ไร่ มีพื้นที่ปลูกยางเฉลี่ย 33.89 ไร่ มีสวนยางก่อนเปิด กรีดเฉลี่ย 14.98 ไร่ มีสวนยางที่เปิดกรีดแล้ว เฉลี่ย 26.59 ไร่ มีพื้นที่ทำการเกษตรอื่นๆ เฉลี่ย 12.41ไร่ ไต้ผลผลิตยางพารา ปี 2548 เฉลี่ย7,740.05 กิโลกรัม มีรายได้ทั้งหมดของครอบครัว เฉลี่ย 482,938.00 บาท มีรายได้จากการขายยางกับตลาดกลางโดยเฉลี่ย 327,501.10 บาทต่อปี มีหนี้สินเฉลี่ย 168,331.21 บาท มีรายจ่ายของครอบครัวทั้งปี พ.ศ. 2548 เฉลี่ย 118,512.60 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการผลิตยาง แปรรูปยาง และตลาดยางใน ระดับปานกลาง ส่วนใหญ่จะมีการคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปฏิบัติมากในเรื่องมีการ ทำความสะอาดอุปกรณ์ถ้วยยาง ถังรวมยางทุกครั้งที่ใช้ เกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลางในเกือบ ทุกเรื่อง ส่วนข้อเสนอแนะของเกษตรกรเสนอให้หน่วยราชการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องโรค และศัตรูยางร้อยละ 63.96
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9853
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100892.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons