กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9857
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors ralating to an adoption of vegetable production technology for pesticide safety by farmers in Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงคราญ พิมพ์โคตร, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผักปลอดสารพิษ
เกษตรกร--ไทย--อุดรธานี
เทคโนโลยีการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ผลิตพืชผักในจังหวัดอุดรธานี (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยจาก สารพิษของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี (3) ปัญหาในการผลิตพืชฝักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรใน จังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 48.92 ปี มีสถานภาพการ สมรส จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ไต้รับข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีการ ผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีพืนที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 14.14 ไร่ มี พื้นที่ปลูกฝักเฉลี่ย 2.49 ไร่ ในปี 2549 มีรายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ย 90,212.45 บาท รายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 33,659.19 บาท มีรายได้รวมเฉลี่ย 115,899.74 บาท และมีแรงงานเป็นแรงงานเกษตรเฉลี่ย 2.75 คน จำหน่ายผลผลิตโดยมีพ่อค้าคนกลางรับไปจำหน่าย (2) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชฝักปลอดภัยจาก สารพิษของเกษตรกร เกษตรกรยอมรับระดับมากที่สุด 3 ด้านคือ ด้านการดัดเลือกพื้นที่ปลูก ด้านการชัดการดิน และปุ้ย ด้านการเก็บเกี่ยว ยอมรับระดับมากในด้านการเตรียมเมล็ดพันธุ์ ในระดับปานกลาง ด้านการป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการผลิตพืชฝักปลอดสารพิษของเกษตรกร ได้แก่ อายุ การเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร การรับข้อมูลข่าวสาร พื้นที่ปลูกฝัก จำนวนสมาชิกที่เป็นแรงงาน (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในระดับมากที่สุด ในประเด็น ปัญหาด้านปัจจัยการเพิ่มผลผลิตมีราคาแพง ปุ๋ย อินทรีย์ผลิตได้ไม่พอใช้ ปัญหาด้านการตลาด ขายผลผลิตไม่ได้ราคา ไม่มีที่จำหน่ายสินค้า และเสนอแนะให้ รัฐบาลได้มีการช่วยเหลือในด้านการหาปัจจัยการผลิต และมีการประกันราคาผลผลิตตลอดการรับซื้อผลผลิตที่มี คุณภาพเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9857
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100895.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons