Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/985
Title: | บทบาทการดำเนินงานของอาสาสมัครองค์การเอกชนในการตรวจสอบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 |
Other Titles: | The operational roles of the NGO's volunteers in inspecting the election of members of the house of representatives : a case study of the election in Bangkok and its Vicinity on February 6th 2005 |
Authors: | จุมพล หนิมพานิช ฐิตินันท์ วัชรกุน- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุญศรี พรหมมาพันธุ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร -- การเลือกตั้ง -- กรุงเทพฯ การตรวจสอบการเลือกตั้ง |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาปัจจัยของอาสาสมัครองค์การเอกชนในการตรวจสอบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (2) เพื่อศึกษาบทบาทการดำเนินงานของอาสาสมัครองค์การเอกชนในการตรวจสอบการเลือกตั้งสมาขิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (3) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการดำเนินงานของอาสาสมัครองค์การเอกชนในการตรวจสอบการเลือกตั้ง สมาขิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จำแนกตามปัจจัยของอาสาสมัครองค์การเอกชนและ (4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของอาสาสมัครองค์การเอกชนในการตรวจสอบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาสาสมัครองค์การเอกชน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิต ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทำการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) อาสาสมัครขององค์การเอกชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง / ลูกจ้างเอกชน ปฎิบัติหน้าที่อาสาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2) อาสาสมัครขององค์การเอกชนมีบทบาทการดำเนินงานการตรวจสอบการเลือกตั้งอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือด้านการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง และด้านการรับแจ้งเหตุ และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการสำรวจค่าใช้จ่าย 3) ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อาสาสมัครองค์การเอกชนที่มีพื้นที่รับผิดชอบในการตรวจสอบการเลือกตั้งต่างก้นมีบทบาทการดำเนินงานในการตรวจสอบการเลือกตั้งสมาขิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 แตกต่างก้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ เวลาในการปฏิบัติงานมีน้อย อาสาสมัครมีความเความสามารถและไหวพริบน้อย ใช้ระบบการสรรหาแบบส่วนตัวขาดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/985 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib99054.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License