Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/987
Title: ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองขนาดเล็ก : กรณีศึกษาพรรคประชากรไทย พรรคเผ่าไทและพรรคเพื่อนเกษตรไทย
Other Titles: Problems with the development of small political parties : a case study of the Thai Citizen Party, the Pow Thai Party and the Puen Kaset Thai party
Authors: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ฤทธิ์ วิเศษรัตน์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
พรรคประชากรไทย
พรรคเผ่าไทย
พรรคเพื่อนเกษตรไทย
พรรคการเมือง -- ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่เกิดจากปัจจัยภายในพรรค ได้แก่ การริเริ่มก่อตั้งพรรค แนวคิด/นโยบาย อุดมการณ์ การเงิน บุคคลากร และโครงสรัางการบริหารจัดการภายในองค์การ 2) ศึกษาปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกพรรคได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสรัางของระบบการเมือง อิทธิพลของทหารและระบบราชการ รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจและสังคม และเงินทุนทางการเมือง และ 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองขนาดเล็กการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุฌภาพโดยใชัแบบสัมภาษณ์และศึกษาเอกสารในการวิจัย ได้แก่ พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และเป็นพรรคที่ไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 35 พรรค และกลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงมา 3 พรรค คือ พรรคประชากรไทย พรรคเผ่าไท และพรรคเพื่อนเกษตรไทย และเลือกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งและการบริหารพรรคมาพรรคละ 6 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 18 คน แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เกิดจากปัจจัยภายในคือการก่อตั้งพรรคไม่ได้มาจากมวลชน แนวคิดนโยบายพรรคไม่ชัดเจนในการแกัปัญหา มีบุคคลากรและสถานที่ทำงานประจำไม่เพียงพอ การจัดการบริหารพรรคเป็นแบบครอบครัว มีอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ชัดเจน 2) ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ เกิดการปฏิวัติรัฐประหารและประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญอยู่บ่อยครั้ง การดำเนินกิจกรรมของพรรคถูกแทรกแซงจากอิทธิพลของทหารและระบบราชการ มีการขายสิทธิขายเสียงและการรวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างคนรวยกับคนจน การกระจายรายได้และทรัพยากรไม่เท่าเทียมกัน และการไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มหรือบุคคลภายนอก และ 3) ข้อเสนอแนะให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก ควรปรับปรุงโครงสรัางพรรคและการบริหารงานให้มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่ชัดเจนมีคณะกรรมการรับผิดชอบงาน ปรับปรุงนโยบายให้ซัดเจนและนำเสนอต่อสาธารณะ บุคคลากรในพรรคต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการพัฒนาพรรค และการระดมเงินทุนจากภายนอก ควรเสนอแก้ไขกฎหมายให้เกิดความยุติธรรมและความเสมอภาคกับพรรคการเมืองทุกพรรค และควรปฏิรูประบบการศึกษาให้มีคุณภาพ
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/987
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib114943.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons