Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/988
Title: ผู้นำสตรีกับบทบาททางการเมือง : กรณีศึกษาในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Women leaders and their political : a case study of Phatthana Nikhom District, Lop Buri Province
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล
ณัฏฐ์พิชชา บุญมา, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
สตรีกับการเมือง
สตรีกับการเมือง -- ไทย -- ลพบุรี
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้นำสตรีเข้ามามีบทบาททาง การเมืองระดับท้องถิ่น(2) เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองระดับท้องถิ่นของผู้นำสตรี (3 ) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาททางการเมืองระดับท้องถิ่นของผู้นำสตรี และ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคตลอดจนข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาบทบาททางการเมืองในระดับต่าง ๆ ของผู้นำสตรีในภายหน้าได้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มผู้นำสตรีที่ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี จำนวน 20 คน เครึ่องมือที่ใช้เป็นบทสัมภาษณ์การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้แบบปฐมภูมิ และแบบทุติยภูมิ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาประกอบกับการหาค่สถิติร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่ทำให้ผู้นำสตรีเข้ามามีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในที่สำคัญ คือ การตัดสินใจด้วยตนเองการสนับสบุนจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อนบ้าน ส่วนปัจจัยภายนอก คือ ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ้านเมือง (2) บทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นของผู้นำสตรีที่สำคัญที่สุด ได้แก่การตระหนักในบทบาททาง การเมืองขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การไปใข้สิทธิเลึอกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การร่วมรณรงค์เกี่ยวกับ การเลือกตั้ง (3) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาททางการเมืองระดับท้องถิ่นที่เกิดขึ้น เกิดจาก ปัจจัยภายใน ที่สำคัญ คือ จากสมาชิกในครอบครัว เพื่อนบ้าน และเกิดจากปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ สถานการณ์บ้านเมืองและการยึดติดเรื่องค่านิยมด้านเพสในอดีต โดยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการ ดำเนินบทบาททางการเมืองที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากสถานการณ์บ้านเมืองเพราะเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากที่สุด (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค หลักสำคัญที่ผู้นำสตรีส่วนใหญ่ยึดถึอในการดำเนินบทบาททางการเมืองระดับท้องถิ่น คือ ใช้หลักความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และแก้ไขปัญหาตามกระบวนการภายใต้หลักของเหตุผล ส่วนข้อเสนอแนะในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของผู้นำสตรี คือ ให้เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และมีใจมุ่งมั่นต่อบทบาทที่กระทำ
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/988
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib114937.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons