กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9896
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของสมาชิกแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potentials in Khoa Dawk Mali 105 rice seed production by the seed expansion project members of Nakhon Ratchasima Rice Seed Center in Phimai District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษฎิน คำตัน, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวขาวดอกมะลิ 105--เมล็ดพันธุ์--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิก แปลงขยายพันธุ์ (2) ความรู้พื้นฐานและแหล่งความรู้ของสมาชิกแปลงขยายพันธุ์ (3) ทัศนคติของสมาชิกแปลง ขยายพันธุ์ (4) ศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ของสมาชิกแปลงขยายพันธุ์ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการเข้าร่วมโครงการแปลงขยายพันธุ์ข้าว เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า(1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายูเฉลี่ย 46.90 ปี จบการศึกษาภาค บังคับ มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.43 คน มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 27.08 ปี มีประสบการณ์ในการผลิต เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 2.93 ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.50 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 38.96 ไร่ มีพื้นที่ จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 17.63 ไร่ รายได้เฉลี่ย 172,761.90 บาท (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เกษตรกรได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว นครราชสีมามากที่สุด (3) เกษตรกรมีระดับทัศนคติมากต่อการผลิตเมล็ดพันธุข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยประเด็นมี ความรักในอาชีพทำนามีระดับทัศนคติมากสูงสุด (4) เกษตรกรมีศักยภาพในระดับมาก โดยเฉพาะศักยภาพด้านการสนับสนุนของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา (5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน ข้อเสนอแนะ ต้องการให้ศูนย์เมล็ดพันธุข้าวฯ ซื้อคืนเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผลการ ทดสอบสมมติฐาน พบว่า จำนวนแรงงานในครัวเรือน มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับศักยภาพของเกษตรกรสมาชิก แปลงขยายพันธุ์ข้าวต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9896
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
110136.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons