กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9903
ชื่อเรื่อง: บทบาทเทศบาลนครปากเกร็ดในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of Pak Kret Municipality in promoting people's participation for solving polluted water problems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรัฐิติกาล วงษา, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลนครปากเกร็ด--การบริหาร
การกำจัดน้ำเสีย--การมีส่วนร่วมของประชาชน
น้ำเสีย--การบำบัด--การมีส่วนร่วมของประชาชน
น้ำเสียชุมชน--การจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทเทศบาลนครปากเกร็ดในการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหานํ้าเน่าเสีย (2) ศึกษาปัญหา และอุปสรรค ของบทบาทเทศบาลนครปากเกร็ดในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา นํ้าเน่าเสีย (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขบทบาทเทศบาลนครปากเกร็ดในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหานํ้าเน่าเสีย ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทเทศบาลนครปากเกร็ดในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการแก้ไขปัญหานํ้าเน่าเสีย คือการดำเนินด้านกฎหมาย เทศบัญญัติ/ระเบียบต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพนํ้า การส่งเสริมเครือข่ายให้เป็นพลังขับเคลื่อนกิจกรรมการมี ส่วนร่วมของประชาชน จัดการประชุมหรือสัมมนาร่วมลับภาคประชาชน การดำเนินเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมให้กับประชาชน (2) ปัญหาและอุปสรรคปัจจัยภายใน เทศบาลนครปากเกร็ด คือ ขาดบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการให้ความรู้การมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหานํ้า!น่าเสีย และขาดการทำงานแบบเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ ส่วนปัญหาและ อุปสรรคปัจจัยภายนอกเทศบาลนครปากเกร็ด คือ ค่านิยมในการดำเนินชีวิตแบบเดิมๆ ไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลง อีกทั้งประชาชนไม่เห็นความสำคัญและไม่เข้าใจการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหานํ้าเน่าเสีย (3) ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัจจัยภายในเทศบาลนครปากเกร็ด คือ การ ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้สอดคล้องในทางปฏิบัติโดยชัดเป็นระบบทั้งการพัฒนาบุคลากรการ เพิ่มโครงการและงบประมาณ ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัจจัยภายนอกเทศบาลนครปากเกร็ด คือ การส่งเสริมให้ประชาชนไปศึกษาดูงานที่อื่นๆ เพื่อนำมาปรับปรุงในพื้นที่ และให้มีการ ประกวดผลงานในการพัฒนาคลองต่างๆ โดยมอบรางวัลเกียรติคุณเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ชุมชน ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9903
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
136666.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons