Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9912
Title: | บทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ในการเคลื่อนไหวตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ.ศ. 2554-2557 |
Other Titles: | The role of social media in monitoring rice mortgage scheme Yingluck's Government Case in 2011-2014 |
Authors: | ธนศักดิ์ สายจำปา กัมปนาท ระมั่ง, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี สื่อมวลชนกับการเมือง สื่อสังคมออนไลน์ รัฐบาล--สมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร--ไทย--2554-2557 |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (๒) บทบาทของชื่อสังคมออนไลน์ในการเคลื่อนไหวตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ.ศ.ศ. 25557 (2) การเชื่อมโยงของสื่อสังคมออนไลน์สู่สังคมอ๊อฟไลน์ ในการเคลื่อนไหวตรวจสอบโครงการรับจำนำ ข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ.ศ. 2554-2557 และ (3) ข้อจำกัดของสื่อสังคมออนไลน์ในการเคลื่อนไหวตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ.ศ. 2554-2557 วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์โดยมีประชากรวิจัย ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์ ที่เปิดให้บริการพื้นที่การสนทนาทางการเมืองและบุคคลที่มีการสื่อสารข่าวสารทางการเมืองบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ.ศ. 2554-2557 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ การวิเคราะห์ เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งไปที่ประเด็นการทุจริตคอร์รัปชั่นในการรับจำนำข้าว มีการนำเสนอข้อมูลมูลข่าวสารการทุจริตในโครงการดังกล่าวตามสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เว็บบล็อก ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊กและยูทูป ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีสองลักษณะคือ ลักษณะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเชิงให้การสนับสนุนใครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และลักษณะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเชิงต่อต้านโครงการรับจำนำนำข้าว (2) ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตรับจำนำข้าวที่มีการเผยแพร่และส่งต่อกันมาทางเฟซบุ๊ก และยูทูป เมื่อมีการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวในสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น และเกิดการเรียกร้องให้เกษตรกรออกมาชุมนุมกดดันรัฐบาลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จนนำไปสู่การเชื่อมโยงให้เกิดกิจกรรมทางการเมืองแบบอ๊อฟไลน์ (3) มีข้อจำกัดในการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ข้อมูลมีความหลากหลายทำให้ถูกบิดบือนจากความเป็นจริงจนเกิดความสบสน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9912 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152096.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License