กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9914
ชื่อเรื่อง: | การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Consumer protection rights under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล พรรณี จารุสมบัติ, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย การคุ้มครองผู้บริโภค--ไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการดำเนินงานของรัฐในการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานครไปปฏิบัติ (4) เสนอแนะ แนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ผลการศึกษาพบว่า (1) ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มีการให้ ความสำคัญแก่สิทธิผู้บริโภค ซึ่งได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคให้ในมาตรา 61 โดยมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาดูแลงานด้านนี้ และยังมีหน่วยงาน สนับสนุนและ ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กระจายตัวอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งภาครัฐได้มีการให้ ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่างเต็มที่ ทั้งมาตรการในเชิงแก้ไข เยียวยา และมาตรการเชิงรุกเพื่อ ป้องกันการเกิดปัญหา ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (2) ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่กรูงเทพมหานคร คือ ปัญหาต้านทรัพยากร ของหน่วยงานทั้งด้านงบประมาณและบุคลากร รวมทั้งปัญหาในการรับรู้และปกป้องสิทธิผู้บริโภค ซึ่งพบว่ามีการละเลยการปกป้องสิทธิของผู้บริโภคเอง เมื่อถูกละเมิดสิทธิ โดยคิดว่าการร้องเรียนมี ความยุ่งยากและเสียเวลา อีกทั้งจากความเชื่อของสังคมไทยในเรื่องของกรรมและการให้อภัย (3) ปัจจัย สำคัญที่ส่งผลต่อนโยบายการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกภายใน หน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และความพอเพียงของ ทรัพยากร (4) ข้อเสนอแนะคือ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายคุ้มครองสิทธิ ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้บริโภค รวมทั้งการผลักคันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9914 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
139538.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License