กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9919
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมและการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior and client perception towards service quality at the outpatient department in Hatyai Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีย์ เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายนภา เทพจันทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลหาดใหญ่--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
โรงพยาบาล--บริการลูกค้า
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ป่วยแผนก ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ (2) ศึกษาการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ และ (3) เปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพบริการตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ต่อแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหาดใหญ่ จํานวน 7,000 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างคํานวณโดยสูตรทาโร ยามาเน่ได้จํานวน 400 คน ใช้วิธีการ เลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอยางแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้การรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้แอล เอส ดี ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการใช้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ พบว่า ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คือ ตนเอง และเหตุผลที่ตัดสินใจเลือกมาใช้บริการ คือ มีสิทธิเบิกได้ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิบัตรทองในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และเดินทางโดยรถส่วนตัว (2) การรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพการบริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณภาพบริการด้านรูปธรรม การเอาใจใส่ ความน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ การตอบสนอง และความมั่นใจ อยู่ในระดับมาก และ (3) เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพ การบริการของผู้รับบริการตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ พบว่า การรับรู้คุณภาพการบริการของผู้รับบริการมีความแตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับ สถานภาพสมรส และอาชีพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9919
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154986.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons