กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9930
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและปัจจัยเชิงคุณภาพของส่วนประสมการตลาดบริการ บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship of customer behavior and service marketing mix at Nok Airlines Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วริสา สงวนวงษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)--การตลาด
การตลาด--กรณีศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการสายการบิน นกแอร์ จํากัด (มหาชน) (2) ระดับปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการของสายการบินนกแอร์ จํากัด (มหาชน) (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการใช้บริการสายการบินนกแอร์ จํากัด (มหาชน) (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ กับพฤติกรรมการใช้บริการ สายการบินนกแอร์ จํากด (มหาชน) (5) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการบริการให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้บริการให้ มากยิ่งขึ้น การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญ และแบบสอบถามได้แบ่งเป็น 4 ส่วน จากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์ จํากัด (มหาชน) สถานีดอนเมือง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าทดสอบทีและการทดสอบไค-สแเควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์ สนามบินดอน เมือง พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะใช้บริการสายการบินนกแอร์เฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มี จุดประสงค์หลักในการเดินทาง คือ การท่องเที่ยว สําหรับสาเหตุที่เลือกใช้บริการสายการบินนกแอร์เนื่องจากค่า โดยสารไม่แพงและมีความสะดวกสบายในการเดินทาง ซึ่งมักจะเดินทางในช่วงเทศกาลต่างๆ หรือมีโปรโมชันที่ น่าสนใจ และช่วงเวลาที่เดินทาง คือ เวลา 12.00 – 18.00 ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทางต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีสัมภาระติดตัว จํานวน 1-2 ชิ้น (2) ปัจจัยทางการตลาดบริการ พบว่า ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ ปัจจัย ด้านช่องทางการจําหน่าย รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์, ด้านราคา, ด้านกระบวนการให้บริการ, ด้านบุคคลากร, ด้านส่งเสริมการตลาด และ ด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลําดับ (3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วน บุคคลกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ พบว่า อายุ สถานะภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทาง การตลาดกับพฤติกรรมของผู้บริการ พบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ยกเว้นในส่วน ของค่าใช้จ่าย โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) จากการวิจัยในครั้งนี้สามารถนําผลการศึกษาไปพัฒนากล ยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน และนําไปปรับปรุงการบริการของสาย การบินให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมให้กลับมาใช้บริการอีกครั้งและสร้างสิ่ง ดึงดูดให้กับลูกค้าใหม่มาใช้บริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9930
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151390.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons