Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9939
Title: | บทบาทของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ในประเภทกิจการประมงทะเล จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Role of Prayuth Chan-ocha's Government on solutions of migrant workers and human trafficking in fishing industry at Songkhla Province |
Authors: | ปธาน สุวรรณมงคล ประพันธ์ หนูสันทัด, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี แรงงานต่างด้าว--การจ้างงาน แรงงานในการประมง--ไทย--สงขลา การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง แรงงานต่างด้าว--นโยบายของรัฐ--ไทย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว (2) ปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาผลการศึกษา พบว่า (1) บทบาทของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ใขปัญหา แรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ในประเภทกิจการประมงทะเล ในจังหวัดสงขลา ได้แก่การออกนโยบาย การออกกฎหมายและระเบียบ การกำกับดูแล การนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยผลงานสำคัญอาทิ การกำหนดให้ มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล จัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมงทะเลจังหวัด จัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก จัดตั้งหน่วยงานหลัก คือ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมง ผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และศูนย์ประสานการปฏิบัติงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการทำประมงผิดกฎหมาย บทบาทด้านกฎหมายกำหนดให้มี การอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล ปรับสถานะแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายใน ภาคประมงให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย และหน่วยงานสามารถนำนโยบายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปปฏิบัติ ไต้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการชัดประชุมชี้แจงให้ความรู้ คำแนะนำ การสื่อสารทำความเข้าใจกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติตามแนวทางที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กำหนด และมีการแต่งตั้ง คณะทำงานต่างๆ เพื่อควบคุมดูแล ซ็งสามารถลดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายลงได้ (2) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเล ปัญหาแรงงานประมงบางส่วนที่ยังไม่มาจดทะเบียนแรงงาน ต่างด้าวให้ถูกต้อง ปัญหาผู้ประกอบการบางรายยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บางหน่วยงานการปฏิบัติไม่ชัดเจน ( 3)ข้อเสนอแนะได้แก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการวางแผนด้านกำลังแรงงานทั้งระบบเพื่อให้ มีการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้ครอบคลุมและเป็นระบบต่อเนื่อง ควรมีการทบทวนนโยบายในการ บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะประเภทกิจการประมงทะเล ควรพิจารณาข้อกฎหมาย บทลงโทษ ให้มีความเข้มข้น และการบังคับใช้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพี่มมากขึ้น และการบูรณาการและ ประสานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9939 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153311.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License