Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorถนอมจิตร เอี่ยมไพโรจน์, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-25T06:12:54Z-
dc.date.available2022-08-25T06:12:54Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/993-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พัฒนาการความเป็นมาของแนวคิดสันติวิธีในประเทศไทย (2) ผลการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย (3) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประชากรการวิจัย ได้แก่ (1) นักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องแนวคิดสันติวิธี (2) ผู้มีบทบาทในการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและคำบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดสันติวิธีในประเทศไทยมีความเป็นมาจากแนวคิดต่าง ๆ ดังนี้ แนวคิด สันติภาพมีในหลักธรรมของพุทธศาสนาอยู่แล้ว แนวคิดความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งมีพื้นฐานมาจาก แนวคิดทางพุทธศาสนา และรับแนวคิดความรุนแรงและปฏิบัติการไร้ความรุนแรงโดยมีการศึกษางานของ ยีน ชาร์ป โยฮัน กัลป์ตุง และมหาตมคานธี แนวคิดสันติวิธีเชิงโครงสร้างเริ่มศึกษาจากเรื่องความเท่าเทียมกันของสังคม และ ต่อมาได้ศึกษาเรื่องพัฒนาการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่น แนวคิดอหิงสารับมาจากมหาตมคานธี แนวคิดสันติวิธีเชิงพุทธ มีความเป็นมาจากหลักธรรมของพุทธศาสนา โดยเน้นสันติภายใน และแนวคิดสันติวิธีอิสลามมีการให้ความหมายว่าคือ แนวทางแห่งสันติการแก้ปัญหาโดยใช้ความอดทนและยอมรับในความแตกต่าง (2) ผลการนำสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย คือ สันติวิธีแบบการประท้วงหรือชักจูงโดยไม่ใช้ความรุนแรง สันติวิธีแบบการไม่ให้ความร่วมมือทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมีการใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเกิดความสนใจเพื่อนำไปสู่การเจรจา สันติวิธีแบบการแทรกแซง ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีการนัดหยุดงาน ใช้อำนาจของรัฐเพื่อยุติความขัดแย้ง สันติวิธีแบบการแปรเปลี่ยน ความขัดแย้งเป็นรูปแบบอื่นมีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ให้เป็นการพัฒนาร่วมกัน สันติวิธีแบบการเจรจาต่อรอง ผลการนำไปใช้พบว่าผู้มีอำนาจพร้อมที่จะใช้ความรุนแรง ถ้าการเจรจาไม่ได้ผลสันติวิธีแบบสานเสวนาพบว่าผลการนำไปใช้ทำให้คู่ขัดแย้งยอมรับฟังเหตุผลของกันและกันมากขึ้น สันติวิธีแบบการไกล่เกลี่ยคนกลางพบว่ามีการนำมาใช้เมื่อความขัดแย้งถึงจุดวิกฤติแล้ว สันติวิธีเชิงพุทธมีการนำขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมในท้องถิ่นตามสันติวิธีเชิงพุทธมาใช้ในการระงับข้อพิพาท สันติตามแนวคิดอิสลาม ผู้นำสอนหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับสันติวิธีเพื่อลดความขัดแย้ง และสันติวิธีแบบอหิงสามีการนำมาใช้แตกต่างไปจาก หลักการของอหิงสาที่แท้จริง (3) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ คือในด้านการสนับสนุนแนวคิดสันติวิธีถือว่าสอดคล้องกับพื้นฐานของสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักโดยมีคำสอน ที่เชื่อว่าความรุนแรงเป็นความทุกข์ จึงต้องปฏิบัติกับจิตใจของตนเองเพื่อขจัดต้นเหตุของความรุนแรง จึงเห็นได้ว่า แนวคิดนี้มีอยู่ในสังคมไทยอย่างช้านาน ส่วนอุปสรรคต่อการนำแนวคิดสันติวิธีไปใช้ คือ ใช้เวลานานเกินไป ไม่สามารถ ประกันความสำเร็จได้ผู้ใช้มีความเชื่อและความเข้าใจต่อสันติวิธีที่แตกต่างกันผู้ใช้สันติวิธีแสดงออกที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน ผู้ใช้สันติวิธีไม่สามารถใช้หลักการและเครื่องมือให้สอดรับกับตัวแปรต่าง ๆ คู่กรณีตอบโต้ด้วยความรุนแรง มีการแทรกแซงจากกลุ่มอื่น มีการมุ่งเอาชนะกันโดยขาดการคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม การสื่อสารและการให้ข้อมูลแก่สังคมมีการบิดเบือน เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มการไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งของแนวทางสันติวิธีและคู่ขัดแย้งมีความ ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.225en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการไม่ใช้ความรุนแรง -- ไทยth_TH
dc.subjectความขัดแย้งทางการเมืองth_TH
dc.titleการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeNonviolent action concept in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.225en_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study (1) the development of the concept of nonviolent action in Thailand; (2) results of implementing the nonviolent action concept in Thailand; and (3) factors that support and factors that obstruct the implementation of the nonviolent action concept in Thailand. This was a qualitative research. The methodology used in this study was documentary research and interviews with specialists, consisting of academic experts on the nonviolent action concept and people who played a role in implementing the nonviolent action concept in Thailand. Data were analyzed through content analysis and descriptive analysis. The research findings could be summarized as 1. The nonviolent action concept in Thailand developed from the concept of peace in Buddhism, the conflict management concept that also originated from Buddhism, and the concepts of violent and nonviolent action from the works of Gene Sharp, Johan Galtung and Mahatma Gandhi. The structural nonviolent action concept originated from studies of social equality, from whence it developed into studies of local resources division. The Ahimsa concept came from Mahatma Gandhi. The principle of Buddhist nonviolent action has its roots in the concepts of internal peace found in Buddhist scriptures. The Islamic nonviolent action concept emphasizes peaceful means to solve problems using patience, forbearance and tolerance. 2. Results of the implementation of the nonviolent action concept in Thailand have been nonviolent protests and inducement movements; many kinds of social, economic and political non-cooperation to induce dialogue; social, economic and political intervention, such as shutdown strikes; use of government power to stop conflicts; conflict conversion through re - allocation of local resources to resolve conflicts between the government and citizens; and negotiations. Those in power are ready to use violence if the negotiations are not effective. The association/discussion approach had the effect of making the opposing sides in a conflict listen to each other’s reasons more carefully. The conciliation approach was used only when conflicts had reached a crisis level. The Buddhist nonviolent approach applied local traditions and values to resolve disputes. Islamic nonviolence was implemented by appointing Islamic leaders to reduce controversies. The Ahimsa concept was implemented differently from the genuine original Ahimsa concept. 3. The major supporting factor for the implementation of the nonviolent action concept was Buddhism as the major religion in Thai society. Buddhism teaches that violence is suffering, so each person should try to achieve peace in his or her mind. The main obstructing factor was that nonviolent action takes a long time to have an effect and that success is not insured. In addition, people have different beliefs and understanding about nonviolent action and some groups are hostile to each other. The nonviolent principles and instruments that people have used have been inadequate to meet the variables of the circumstances. Often, the utilizers met with violence in response to their nonviolent actions. Other obstacles included interference and some groups’ intentions to win at all costs without regard for the common interests of society. Some groups distorted the news that was broadcast to society. Lastly, there was an atmosphere of mutual distrust and a lack of deep understanding of nonviolent actionen_US
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib140577.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons