Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/993
Title: | การนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย |
Other Titles: | Nonviolent action concept in Thailand |
Authors: | ยุทธพร อิสรชัย ถนอมจิตร เอี่ยมไพโรจน์, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ การไม่ใช้ความรุนแรง -- ไทย ความขัดแย้งทางการเมือง |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พัฒนาการความเป็นมาของแนวคิดสันติวิธีในประเทศไทย (2) ผลการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย (3) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประชากรการวิจัย ได้แก่ (1) นักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องแนวคิดสันติวิธี (2) ผู้มีบทบาทในการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและคำบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดสันติวิธีในประเทศไทยมีความเป็นมาจากแนวคิดต่าง ๆ ดังนี้ แนวคิด สันติภาพมีในหลักธรรมของพุทธศาสนาอยู่แล้ว แนวคิดความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งมีพื้นฐานมาจาก แนวคิดทางพุทธศาสนา และรับแนวคิดความรุนแรงและปฏิบัติการไร้ความรุนแรงโดยมีการศึกษางานของ ยีน ชาร์ป โยฮัน กัลป์ตุง และมหาตมคานธี แนวคิดสันติวิธีเชิงโครงสร้างเริ่มศึกษาจากเรื่องความเท่าเทียมกันของสังคม และ ต่อมาได้ศึกษาเรื่องพัฒนาการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่น แนวคิดอหิงสารับมาจากมหาตมคานธี แนวคิดสันติวิธีเชิงพุทธ มีความเป็นมาจากหลักธรรมของพุทธศาสนา โดยเน้นสันติภายใน และแนวคิดสันติวิธีอิสลามมีการให้ความหมายว่าคือ แนวทางแห่งสันติการแก้ปัญหาโดยใช้ความอดทนและยอมรับในความแตกต่าง (2) ผลการนำสันติวิธีมาใช้ในประเทศไทย คือ สันติวิธีแบบการประท้วงหรือชักจูงโดยไม่ใช้ความรุนแรง สันติวิธีแบบการไม่ให้ความร่วมมือทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมีการใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเกิดความสนใจเพื่อนำไปสู่การเจรจา สันติวิธีแบบการแทรกแซง ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีการนัดหยุดงาน ใช้อำนาจของรัฐเพื่อยุติความขัดแย้ง สันติวิธีแบบการแปรเปลี่ยน ความขัดแย้งเป็นรูปแบบอื่นมีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ให้เป็นการพัฒนาร่วมกัน สันติวิธีแบบการเจรจาต่อรอง ผลการนำไปใช้พบว่าผู้มีอำนาจพร้อมที่จะใช้ความรุนแรง ถ้าการเจรจาไม่ได้ผลสันติวิธีแบบสานเสวนาพบว่าผลการนำไปใช้ทำให้คู่ขัดแย้งยอมรับฟังเหตุผลของกันและกันมากขึ้น สันติวิธีแบบการไกล่เกลี่ยคนกลางพบว่ามีการนำมาใช้เมื่อความขัดแย้งถึงจุดวิกฤติแล้ว สันติวิธีเชิงพุทธมีการนำขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมในท้องถิ่นตามสันติวิธีเชิงพุทธมาใช้ในการระงับข้อพิพาท สันติตามแนวคิดอิสลาม ผู้นำสอนหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับสันติวิธีเพื่อลดความขัดแย้ง และสันติวิธีแบบอหิงสามีการนำมาใช้แตกต่างไปจาก หลักการของอหิงสาที่แท้จริง (3) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำแนวคิดสันติวิธีมาใช้ คือในด้านการสนับสนุนแนวคิดสันติวิธีถือว่าสอดคล้องกับพื้นฐานของสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักโดยมีคำสอน ที่เชื่อว่าความรุนแรงเป็นความทุกข์ จึงต้องปฏิบัติกับจิตใจของตนเองเพื่อขจัดต้นเหตุของความรุนแรง จึงเห็นได้ว่า แนวคิดนี้มีอยู่ในสังคมไทยอย่างช้านาน ส่วนอุปสรรคต่อการนำแนวคิดสันติวิธีไปใช้ คือ ใช้เวลานานเกินไป ไม่สามารถ ประกันความสำเร็จได้ผู้ใช้มีความเชื่อและความเข้าใจต่อสันติวิธีที่แตกต่างกันผู้ใช้สันติวิธีแสดงออกที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน ผู้ใช้สันติวิธีไม่สามารถใช้หลักการและเครื่องมือให้สอดรับกับตัวแปรต่าง ๆ คู่กรณีตอบโต้ด้วยความรุนแรง มีการแทรกแซงจากกลุ่มอื่น มีการมุ่งเอาชนะกันโดยขาดการคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม การสื่อสารและการให้ข้อมูลแก่สังคมมีการบิดเบือน เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มการไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งของแนวทางสันติวิธีและคู่ขัดแย้งมีความ ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/993 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib140577.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License