Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9958
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิดา พีรยานนท์พิสุทธิ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-10-17T06:49:32Z-
dc.date.available2023-10-17T06:49:32Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9958-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคาร ออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของ ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วน ประสมการตลาดกบการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า ธนาคารออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการซื้อ สลากออมสินพิเศษ ธนาคารออมสินสาขาทุ่งตะโก ซึ่งมีจํานวนทั้งหมด 3,579 คน กำหนดขนาดตัวอย่างตามวิธี ของยามาเน่ ได้จํานวนตัวอย่าง 360 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไค-สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 ปี ขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท และส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของธนาคารออมสินมานาน 1-5 ปี ลูกค้าส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสลากออมสิน พิเศษจากการประชาสัมพันธ์ของธนาคารผ่านสื่อต่าง ๆ มีความต้องการซื้อสลากออมสินพิเศษเพื่อการออม ปัจจัย ที่ช่วยส่งเสริมการตัดสินใจสูงสุดคือชอบเสี่ยงโชคและต้องการออมเงิน มีการซื้อสลากออมสินพิเศษโดยเฉลี่ยต่อ ครั้ง ไม่เกิน 10,000 บาท บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษสูงสุด คือ พนักงานธนาคารออม สิน หากมีการถูกรางวัล ลูกค้าส่วนใหญ่จะมีการซื้อครั้งต่อไปเพิ่มขึ้น และเมื่อรู้สึกพอใจกับการซื้อสลากออมสิน ส่วนใหญ่จะประชาสัมพันธ์บอกต่อ (2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อด้านราคาในอันดับสูงสุด รองลงมามี ความคิดเห็นต่อด้านช่องทางการจัดจําหน่าย และมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการให้บริการในอันดับตํ่าสุด (3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อสลาก ออมสินพิเศษ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมการตลาด ทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ ซื้อสลากออมสินพิเศษ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectธนาคารออมสินth_TH
dc.subjectสลากออมสิน--การตลาดth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeMarketing mix factors relating to customer buying decision of special Government Saving Bank lottery at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study: (1) Customer Buying Decision of Special Government Saving Bank Lottery at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Province; (2) Marketing Mix Factors in Buying Special Government Saving Bank Lottery in Tungtago Branch, Chumphon Province; and (3) The relationship between the customer’s personal factors and Marketing Mix Factors with buying decision of Special Government Saving Bank Lottery at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Province. Method of study is survey research. Population is Special Government Saving Bank Lottery customer at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Province amount 3,579 persons that compute follow Taro Yamane method were 360 samples. Samples come from Simple Random Sampling. The survey questionnaires were used as an instrument to collect data. Data were analyzed by statistical tools including descriptive statistic which are frequency,percentage, mean, standard deviation and inferentic statistic which is chi-square. From research study, we found that: (1) Most customers are female , who are 41 up years old which married and educated to upper secondary school. Most were farmers whose income is between of 10,001 -20,000 Baht per month and were Government Saving Bank’s customer for 1-5 years ago. Most customers receive the data about Special Government Saving Bank Lottery from Bank’s public relations in mass medias for saving. The principle factors that motivate customer buying decision are gambling and saving money, but not exceed 10,000 bath per time. Customer buying decision is influenced by Government Saving Bank’ officer, when buyers reward the prize, they will buy more lotteries next time. In general, when customers are satisfied with the reward, they normally tell the story of lotteries and its benefits to others; (2) By overall, Marketing Mix Factors Relating to Customer Buying Decision of Special Government Saving Bank Lottery at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Province is in high level. The highest level average is Price; and (3) The relationship between the customer’s personal factors and Marketing Mix Factors with buying decision of Special Government Saving Bank Lottery at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Province, are related statistically significant at the 0.05 levelen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146029.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons