กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9958
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors relating to customer buying decision of special Government Saving Bank lottery at Government Saving Bank Tungtago Branch, Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิดา พีรยานนท์พิสุทธิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารออมสิน
สลากออมสิน--การตลาด
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคาร ออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของ ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วน ประสมการตลาดกบการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า ธนาคารออมสิน สาขาทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการซื้อ สลากออมสินพิเศษ ธนาคารออมสินสาขาทุ่งตะโก ซึ่งมีจํานวนทั้งหมด 3,579 คน กำหนดขนาดตัวอย่างตามวิธี ของยามาเน่ ได้จํานวนตัวอย่าง 360 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไค-สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 ปี ขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท และส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของธนาคารออมสินมานาน 1-5 ปี ลูกค้าส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสลากออมสิน พิเศษจากการประชาสัมพันธ์ของธนาคารผ่านสื่อต่าง ๆ มีความต้องการซื้อสลากออมสินพิเศษเพื่อการออม ปัจจัย ที่ช่วยส่งเสริมการตัดสินใจสูงสุดคือชอบเสี่ยงโชคและต้องการออมเงิน มีการซื้อสลากออมสินพิเศษโดยเฉลี่ยต่อ ครั้ง ไม่เกิน 10,000 บาท บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษสูงสุด คือ พนักงานธนาคารออม สิน หากมีการถูกรางวัล ลูกค้าส่วนใหญ่จะมีการซื้อครั้งต่อไปเพิ่มขึ้น และเมื่อรู้สึกพอใจกับการซื้อสลากออมสิน ส่วนใหญ่จะประชาสัมพันธ์บอกต่อ (2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อด้านราคาในอันดับสูงสุด รองลงมามี ความคิดเห็นต่อด้านช่องทางการจัดจําหน่าย และมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการให้บริการในอันดับตํ่าสุด (3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อสลาก ออมสินพิเศษ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมการตลาด ทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ ซื้อสลากออมสินพิเศษ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9958
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146029.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons