กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9968
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงาน กรณีศึกษา สหกรณ์โคนมวังนํ้าเย็น จำกัด อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Workers' human rights promotion : the case study of Wangnamyen Dairy Co-operative., Ltd, Wangsomboon District, Sakeao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมปฤณ นิยมไทย ทวินันท์ ชาวพรหม, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี สิทธิมนุษยชน ขบวนการแรงงาน--ไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงานของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด (2) บทบาทของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงาน (3) แนวทางการแก้ไข เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงานของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นจำกัด การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ พนักงานสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งหมด 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงานมีการถูกเลือกปฏิบัติระหว่างลูกจ้างรายวันและรายเดือน คือ พนักงานรายวันได้รับโอกาสในการฝึกอบรมศึกษาดูงาน และได้รับสิทธิสวัสดิการของ สหกรณ์ฯ น้อยกว่าพนักงานรายเดือน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสิทธิประโยชน์ในการทำงานที่พึงมี การไม่ได้รับความปลอดภัยในการทำงานและขาดความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์ดูแลความปลอดภัย และการขาดประสิทธิภาพของการบังคับใช้ระเบียบด้านสิทธิมนุษยชน (2) บทบาทของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัดในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนคือพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้แรงงานส่งเสริมให้พนักงานมีความก้าวหน้าในการทำงานโดยให้การฝึกอบรมศึกษาดูงาน ให้โอกาสในการศึกษาพัฒนาความรู้ได้อย่างเต็มที่ และด้านสวัสดิการค่าตอบแทนที่เน้นความเป็นธรรมให้แก่พนักงานตามมาตรฐานการจ้างงาน ความรู้ ความสามารถ และตามภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานรวมถึงมีการกำหนดและกระตุ้นให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้พนักงานได้รับความปลอดภัยในการทำงาน (3) แนวทางการแก้ไขคือการป้องกันดูแลไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติกับพนักงานอันเกิดจากความแตกต่างใดก็ตาม และดูแลด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและด้านสุขภาพ และการเข้าถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานในการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงได้รับอันตราย ให้โอกาสในการก้าวหน้าในการทำงานอย่างเสมอภาคโดยการป้องกันดูแลรักษาสิทธิเสรีภาพ สิทธิสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงานทุกคนเพื่อได้รับโอกาสในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ การปกป้องดูแลพนักงานได้อย่างเสมอภาค และไม่กระทำ หรือส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงานอย่างทั่วถึง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9968 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161970.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License