กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/996
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับเลือกตั้งสองสมัยติดต่อกันของกลุ่มรักษ์ด่านซ้าย เทศบาลตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors leading to the re-election of the Rak Dan Sai Group for a second term in Dan Sai Municipality, Dan Sai District, Loei Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล ทัศนีย์ เกิดสันโดด, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธโสธร ตู้ทองคำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ กลุ่มรักษ์ด่านซ้าย การเลือกตั้งท้องถิ่น -- ไทย -- เลย |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยมูลเหตุที่ทำให้กลุ่มรักษ์ค่านซ้ายได้รับ เลือกตั้งติดต่อกันสองสมัย (2) ผลกระทบจากการที่กลุ่มรักษ์ด่านซ้ายได้รับเลือกตั้งติดต่อกันสองสมัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.อำเภอ) กลุ่มรักษ์ด่านซ้าย กลุ่มนักการเมือง (ฝ่ายตรงข้าม) กำนันตำบลด่านซ้าย ปลัดเทศบาลตำบลด่านซ้าย จำนวน 13 คน และการวิเคราะษ์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยมูลเหตุที่ทำให้กลุ่มรักษ์ด่านซ้ายได้รับเลือกตั้งติดต่อกัน สองสมัย คือ ผลงาน ภาวะผู้นำ ความมั่งคั่ง ระบบอุปถัมค์ (2) ผลกระทบจากการที่กลุ่มรักษ์ด่านซ้ายได้รับเลือกตั้งติดต่อกันสองสมัย ด้านบวก คือ สามารถบริหารงานได้อย่างต่อเนื่องและมีเอกภาพ นำสิ่งที่เป็นอุปสรรคในอดีตมาปรับปรุงแก้ไข การรับรู้ข่าวสารสามารถกระทำได้รวดเร็วส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการบริหารงานในทุกๆ ด้าน ด้านนโยบายประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการสำคัญต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ โดยการนำงบประมาณมาใช้ในการบริหารงานก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ด้านสังคมประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีรายได้เพื่มขึ้น ด้านลบ คือ ขาดการถ่วงดุลอำนาจทางด้านการบริหารและการปกครอง ทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจทางการเมือง การมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไปอาจเกิดความเฉื่อยชาหรือไม่เห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/996 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib114932.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License