Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9983
Title: การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Study of understanding of asset and liabilities declaration of persons holding political positions of local government in Chiang Mai
Authors: สุชาดา สถาวรวงศ์
วิยดา พงษ์บูรพา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักการเมือง--การแสดงทรัพย์สิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ (2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน และ (3) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างในเชิงสถิติ จะทำการทดสอบการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD (Least Significance Difference) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในภาพรวม ในระดับปานกลาง (2) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางการเมืองปัจจุบัน และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แตกต่างกันโดยรวมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.49) ไม่ได้ระบุปัญหาในการจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แต่มีเพียงบางราย (ร้อยละ 11.51) ระบุปัญหาคือ จำนวนครั้งในการยื่นบัญชีต่อ 1 วาระมากเกินไป ขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และความยุ่งยากในการจัดหาเอกสารประกอบการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9983
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142868.pdfเอกสารฉบับเต็ม10 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons