กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/998
ชื่อเรื่อง: แนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The political view of King Rama IV on the institution of Monarchy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
รสลิน ศิริยะพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธงทอง จันทรางศุ, 2498-
คำสำคัญ: จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411 -- ทัศนะเกี่ยวกับการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
กษัตริย์และผู้ครองนคร -- ไทย -- แง่การเมือง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์แนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ (2) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและวิเคราะห์จากเอกสาร ประวัติศาสตร์และผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงการสัมภาษณ์วิเคราะห์เจาะลึกกลุ่ม ตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิสองราย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนแปลงแนวพระราชดำริทางการเมืองที่ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ จากแนวคิดทางการเมืองเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยจากเดิมที่เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเทวราชาหรือ ธรรมราชา มาเป็นแนวพระราชดำริว่า การเป็นพระมหากษัตริย์เกิดขึ้นเพราะอาณาประชาราษฎร์ พร้อมใจกันยกย่องยินยอมให้ทรงดำรงตำแหน่งนั้น (2) ผลที่เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริทาง การเมืองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พระราชกรณียกิจและการใช้พระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องดังแนวพระราชดำริทางการเมืองที่ปรับเปลี่ยนไป คือมีลักษณะที่มีความใกล้ชิดและเข้าถึงจิตใจของราษฎรมากขึ้นกว่าแต่ก่อน มิได้ทรงถือราชาภิสิทธิ์ว่า ทรงเป็นเจ้าเป็นใหญ่ และทุกคนต้องยำเกรงต่อพระราชอำนาจ แต่ทรงยึดหลักว่าพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์มิได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าความสุขส่วนรวมในประเทศของพระองค์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/998
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib125477.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons