กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9992
ชื่อเรื่อง: คุณภาพการบริการของแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอกคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ สถาบันโรคทรวงอก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Service quality of overtime clinic, outpatient department, Central Chest Institute of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมประสงค์ ยางนอก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สถาบันโรคทรวงอก
บริการลูกค้า
งานบริการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการบริการหลังการได้รับบริการ ของผู้ป่วยนอก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับคุณภาพการบริการ (3) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะในด้านคุณภาพการบริการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้มารับบริการบริเวณแผนกการพยาบาล ผู้ป่วยนอก คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ อาคารเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 7 ชั้น 1 สถาบันโรคทรวงอก จำนวน 780 คน จากยอดรวมการให้บริการประจำเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 กำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 257 คน การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ไค-สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับคุณภาพการบริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ด้านความไว้วางใจหรือความเที่ยงตรง ความสามารถ ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการตอบสนองหรือความกระตือรือร้น การเข้าถึงบริการ ความมีไมตรีจิต/ มารยาท การติดต่อสื่อสาร ความเข้าใจผู้มารับบริการและการบริการที่เป็นรูปธรรม/สัมผัส อยู่ในระดับ มาก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพการบริการพบว่าปัจจัยด้านสถานภาพ อาชีพหลัก และด้านสิทธิหลักประกันสุขภาพที่ใช้ในการรับบริการครั้งนี้ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพ การบริการโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านอายุและด้านระดับการศึกษาสูงสุดมี ความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาด้านคุณภาพ การบริการ พบว่า ความไม่เพียงพอของบุคลากร/เจ้าหน้าที่วัสดุ/อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ควรมี การทบทวนจำนวนและบทบาทหน้าที่ของบุคลากร/เจ้าหน้าที่ มีการจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความ สะดวกให้ตรงตามความจำเป็นและสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของผู้มารับบริการในส่วนของ ขั้นตอนการบริการของสถาบันฯ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการเท่าที่ควร สำหรับข้อเสนอแนะในการบริการ ควรมีการพัฒนาขั้นตอนการบริการของสถาบันฯ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ชัดเจน ทันสมัยและเหมาะสมมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9992
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145691.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons