Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9996
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา สถาวรวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมใจ ศรีงาม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-10-20T08:05:13Z-
dc.date.available2023-10-20T08:05:13Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9996-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ ภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2) ปัจจัยเก้ือหนุนของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (3) ผลของปัจจัยเก้ือหนุนต่อประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (4) ปัญหาใน การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้เป็นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้ตรวจสอบภายในประกอบด้วยผู้อํานวยการหน่วย และผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน จํานวน 458 คน กลุ่มที่ 2 คือผู้รับตรวจ ซึ่งประกอบด้วยผู้อํานวยการกลุ่มและ หัวหน้ากลุ่มงานจํานวน 366 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้การแบ่งกลุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้ กลุ่มตัวอย่าง ผู้ตรวจสอบภายในจํานวน 186 คน ผู้รับตรวจจํานวน 169 คน เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในภาพรวม ตามความเห็นของผู้ตรวจสอบภายในและผู้รับตรวจ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าปัจจัยด้าน คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายในมีผลต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านกระบวนการตรวจสอบ ภายใน ด้านการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารและด้านความร่วมมือจากหน่วยรับตรวจ ตามลําดับ (3) ปัจจัยเกื้อหนุน การปฏิบัติงานทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ด้านบวกในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยด้านกระบวนการตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานสูงสุด และปัจจัยทุกด้านส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในร้อยละ 29 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในที่สําคัญคือ หน่วยรับตรวจ เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในมีลักษณะจับผิด มากกว่าการให้คําปรึกษาแนะนํา และปัญหาการ ตีความกฎระเบียบและแนวปฏิบัติ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ตรวจสอบภายในมีความแตกต่างกัน ทําให้ หน่วยรับตรวจขาดความเชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถและมาตรฐานของผู้ตรวจสอบภายในth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectประสิทธิผลองค์การth_TH
dc.subjectสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.subjectการทำงานth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting performance efficiency of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Educationth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study: (1) the performance efficiency of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education (2) the supporting factors of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education (3) the results of factors advocating the performance of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education (4) the problems concerning the performance of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education. This study was a survey research. The population consisted of 2 groups : the first group was 458 internal auditors in unit director level and internal auditors in practitioner level and the other group was 366 recipients of the audit in director level and in the head of sections level. The stratefied random sampling was used to select the samples which were 186 internal auditors and 169 recipients of the audit. The data were collected through questionnaires which were statistically analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, the multiple regression analysis and content analysis. The results of the study showed that: (1) The performance efficiency of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education was at high level. (2) According to the internal auditors and recipients of internal auditor, the supporting factors that affected the performance of the internal auditors and recipients of internal audit of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education, were at high level. When considering each aspect, it was found that the qualification of the internal auditors affected the performance at most. Other aspects that affected the performance were the internal audit process, supports from administrators and cooperation of recipients of the audit, respectively. (3) The overall performance correlated statistically significant at the 0.01 level, correlated in a same positive direction. The internal audit process factors associated with the performance was highest. And all the factors affecting the performance of the internal auditors, 29 percent were statistically significant at the 0.05 level. (4) The important problems concerning the performance of the internal audit were as follows: the recipients of the audit concluded that the internal auditors found fault at the inspection rather than giving counseling advice; since there were problems of regulation interpretations and guidelines and the differences of the collection of the information, the recipients of the internal audit lack of confidence in the knowledge, capability and standard of the internal auditorsen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145736.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons