กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9996
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting performance efficiency of the internal auditors of Primary Educational Service Area Office, Ministry of Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา สถาวรวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ ศรีงาม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประสิทธิผลองค์การ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ ภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2) ปัจจัยเก้ือหนุนของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (3) ผลของปัจจัยเก้ือหนุนต่อประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (4) ปัญหาใน การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้เป็นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้ตรวจสอบภายในประกอบด้วยผู้อํานวยการหน่วย และผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน จํานวน 458 คน กลุ่มที่ 2 คือผู้รับตรวจ ซึ่งประกอบด้วยผู้อํานวยการกลุ่มและ หัวหน้ากลุ่มงานจํานวน 366 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้การแบ่งกลุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้ กลุ่มตัวอย่าง ผู้ตรวจสอบภายในจํานวน 186 คน ผู้รับตรวจจํานวน 169 คน เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในภาพรวม ตามความเห็นของผู้ตรวจสอบภายในและผู้รับตรวจ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าปัจจัยด้าน คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายในมีผลต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านกระบวนการตรวจสอบ ภายใน ด้านการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารและด้านความร่วมมือจากหน่วยรับตรวจ ตามลําดับ (3) ปัจจัยเกื้อหนุน การปฏิบัติงานทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ด้านบวกในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยด้านกระบวนการตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานสูงสุด และปัจจัยทุกด้านส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในร้อยละ 29 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในที่สําคัญคือ หน่วยรับตรวจ เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในมีลักษณะจับผิด มากกว่าการให้คําปรึกษาแนะนํา และปัญหาการ ตีความกฎระเบียบและแนวปฏิบัติ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ตรวจสอบภายในมีความแตกต่างกัน ทําให้ หน่วยรับตรวจขาดความเชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถและมาตรฐานของผู้ตรวจสอบภายใน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9996
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145736.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons