กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5198
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors of parents' decision to enroll their children in private kindergartens in Phetchabun Primary Education Service Area 3 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลชลี จงเจิรญ ศรีวิไล ซึ้งตระกูลชัย, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี บิดามารดา--การตัดสินใจ เด็ก--การศึกษา--การมีส่วนร่วมของบิดามารดา โรงเรียนอนุบาล การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 (2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครอง จำแนกตามระดับการศึกษาอาชีพและรายได้ และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนอนุบาลเอกชนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 23 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 350 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจชี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มตามสัดส่วน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบ สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ปัจจัยการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนของ ผู้ปกครองทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน และด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (2) ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครอง จำแนกตามระดับการศึกษาอาชีพและรายได้ พบว่าผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีการตัดสินใจต่อการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในด้านอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และชุมชมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านบุคลากร ผู้ปกครองมีการตัดสินใจไม่แตกต่างกัน นอกจากนื้ยังพบว่า ผู้ปกครองที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการตัดสินใจต่อการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในปัจจัยทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าผู้ปกครองที่มีรายได้แตกต่างกันมีการตัดสินใจต่อการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในปัจจัยทุกด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 มีดังนี้ อาคารเรียนควรอยู่ในสภาพแข็งแรง มีสีสันสวยงาม และควรมีหลังคา ให้แสงเงาบริเวณพื้นที่ทำกิจกรรม ครูผู้สอนควรจบตรงวุฒิปฐมวัย หรือมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กเล็ก ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมกับวัย ควรนำนักเรียนร่วมการประกวดแข่งขันความสามารถในระดับต่างๆ และ ควรติดต่อลื่อสารกับผู้ปกครองอย่างเป็นระยะและสมํ่าเสมอ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5198 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153257.pdf | 6.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License