กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/639
ชื่อเรื่อง: | ปรากฎการณ์ใหม่ของประเพณีกินผักในจังหวัดภูเก็ต : กรณีศึกษาศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | New phenomenon of vegetarian custom in Phuket : a case study of Jui Tui Tao Bo Keang Chinese Temple |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวิทย์ ไพทยวัฒน์ สมชาย มนูจันทรัถ, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสาวภา ไพทยวัฒน์ จิรพันธ์ ไตรทิพจรัส |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ประเพณีกินผัก ความเป็นอยู่และประเพณี |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของประเพณีกินผักของบรรพบุรุษชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต (2) ศึกษาการสืบสานประเพณีกินผักของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดภูเก็ต (3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประเพณีกินผักในจังหวัดภูเก็ตที่ปรากฏในปัจจุบัน โดยใช้ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ซึ่งเป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเป็นสนามวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ การสัมภาษณ์เจาะลึก และการจัดสนทนากลุ่ม พร้อมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และใช้อุปกรณ์เสริมในการบันทึกข้อมูล ชื่งผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 26 คน ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ทางด้านพิธีกรรม ผู้สุงอายุ ม้าทรง กรรมการจัดงานประเพณีกินผักของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง รวมทั้งกรรมการมูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ผลการวิจัยพบว่าประเพณีกินผักในวันที่ 1 ถึงวันที่ 9 เดึอน 9 ตามปีจันทรคติจีนของบรรพบุรุษชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ตถือกำเนิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2372-2445 โดยกลุ่มอั้งยี่ได้นำเอาพิธีกรรมของชาวคณะงิ้วจีนแต้จิ๋วที่ได้เปิดแสดงในเมืองภูเก็ตขณะนั้น มาปรับเปลี่ยนให้เป็นเครื่องมือในการรำลึกถึงราชวงศ์หมิง พร้อมกับการแสดงออกซึ่งอารยธรรมของชนชาวจีนเพื่อสร้างสังคมกลุ่มชาวจีนอพยพให้เป็นเอกภาพ โดยการบูชาองค์กิ๋วอ๋องไต่เต่ทั้งในฐานะสมมุติกษัตริย์เชื้อสายชาวฮั่นและเทพเจ้าประจำดวงดาวตามความเชื่อทางศาสนาภายในศาลเจ้าเต้าโบ้เก้งที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ และชาวไทยเชื่อสายจีนในจังหวัดภูเก็ตได้สืบสานประเพณีกินผักต่อ ๆ กันมาตามภาระหน้าที่ผ่านกระบวนการทางสังคม โดยผู้เข้าร่วมงานประเพณีต่างยึดหลักในการปฏิบัติตนให้สะอาดทั้งกายและใจส่วนการจัดงานประเพณีกินผักของศาลเจ้า ยึดหลักการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการจัดงานและการประกอบพิธีกรรมตามหลักเหตุผลความเชื่อทางศาสนา ชื่งปัจจุบันรูปแบบการจัดงานประเพณีกินผักในจังหวัดภูเก็ตได้เปลี่ยนแปลงไป สะท้อนถึงแนวความคิด ความเชื่อ ของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในงานประเพณีกินผักของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเด้าโบ้เก้ง คือการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร และโครงสร้างพิธีกรรมให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนชี้นำและเกื้อหนุน แต่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของชุมชน และกลุ่มผู้นำภายในศาลเจ้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้สังคมควรตระหนักถึงคุณค่าด้านจิตใจ และด้านสุขภาพอนามัยที่ได้รับจากประเพณีกินผัก โดยไม่ยึดติดอยู่กับเรื่องอิทธิฤทธิ์อภินิหาร และควรสร้างความสมดุลของการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/639 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (3).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License