กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10020
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาตัวแบบการจัดการความรู้ : กรณีศึกษาสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of knowledge management model : a case study of Laksi District Office, Bangkok Metropolitan Administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา สมลักษณ์ วงมณฑลขจร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์ การบริหารองค์ความรู้ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการความรู้ของหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จ (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการความรู้ของหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จ และ (3) พัฒนาตัวแบบการจัดการความรู้มาประยูกต์ใช้ในสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยงานที่ศึกษาได้แก่ กรมสรรพากร โรงพยาบาลศิริราช สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 21 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ วิทยากร และ ผู้ปฏิบัติงานต้านการจัดการความรู้ รวมทั้ง การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ หลังจากนั้นได้ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) การจัดการความรู้ของหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จสามารถ พิจารณาเป็นรายด้านได้ ดังนี้ 1) ด้านองค์ประกอบการจัดการความรู้ พบว่า ผู้บริหาร บุคลากร คณะกรรมการจัดการความรู้ ให้ความสนใจ สนับสนุน ส่งเสริมการจัดการความรู้ของบุคลากรใน หน่วยงาน 2) ด้านกระบวนการจัดการความรู้ ส่วนใหญ่มี 5 ขั้นตอน 3) ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการ จัดการความรู้ พบว่า ผู้นำให้ความสำคัญ ส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสาร (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการความรู้ของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ พบว่ามีแนวปฏิบัติทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันทั้ง 3 ด้าน (3) การพัฒนาตัวแบบการจัดการความรู้ ของสำนักงานเขตหลักสี่ สามารถพิจารณาได้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ ข้าราชการเขตหลักสี่ คณะกรรมการจัดการความรู้ 2) กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การ แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนรู้ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการจัดการความรู้ ได้แก่ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ ให้การสนับสนุนส่งเสริม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน บุคลากร เขตหลักสี่ มีการ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนรู้ การสื่อสารใช้ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10020 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
110158.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License