กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10026
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ศึกษากรณี ผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนฟ้องหรือร้องทุกข์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Criminal proceedings problem of the compoundable offense : a case study of the victim’s death before prosecution or complaint |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล พีระวัฒน์ แพงงา, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ความผิดอันยอมความได้ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ตามกฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ (2) เปรียบเทียบกฎหมายในการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนฟ้องหรือร้องทุกข์ ทั้งในประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนฟ้องหรือร้องทุกข์ (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนฟ้องหรือร้องทุกข์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้เมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนฟ้องหรือร้องทุกข์ ในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) สิทธิในการดำเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ จะระงับลงโดยปริยายด้วยความตายของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งได้วางเงื่อนไขให้ทายาทของผู้เสียหายมีสิทธิดำเนินคดีอาญาแทนได้เฉพาะกรณีผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือไม่สามารถจัดการเองได้เท่านั้นและยังได้วางเงื่อนไขให้รัฐมีอำนาจดำเนินคดีอาญาดังกล่าวได้ต่อเมื่อมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหาย (2) ประเทศไทยใช้หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ และมีการดำเนินคดีอาญาตั้งแต่การสืบสวนสอบสวนและฟ้องร้องเป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐ แต่ยังคงให้ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ด้วย แต่มีการจํากัดอำนาจของญาติพี่น้องของผู้เสียหายให้แคบลง คงเหลือแต่เฉพาะกรณีผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือถูกทำร้ายจนบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้เท่านั้น ส่วนในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ทายาทในการร้อง แทนได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกรณีผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ (3) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยไม่ได้มีการบัญญัติให้สิทธิแก่ทายาทในการร้องทุกข์แทนได้ในกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนร้องทุกข์เอาไว้ ทำให้ผู้กระทำความผิดหลุดพ้นจากการถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ (4) ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายอาญาในส่วนวิธีสบัญญัติได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5 (2) เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับทายาทของผู้เสียหาย จัดการร้องทุกข์แทนได้เมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนที่จะร้องทุกข์ เพื่อแสดงเจตนาในการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10026 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License