กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1002
ชื่อเรื่อง: กระบวนการพัฒนาพรรคการเมืองสู่ความเป็นสถาบันการเมือง : กรณีศึกษาเปรียบเทียบพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคไทยรักไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Process of development of a political party into a political institution : a case study comparing the Democratic Party and the Thai Rak Thai Party
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นคร มาฉิม, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคไทยรักไทย
พรรคการเมือง -- ไทย
สถาบันการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทย (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัญหา และอุปสรรคในกระบวนการพัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทย และ (3) ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพรรคการเมืองไทยไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมือง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ก่อตั้ง ผู้บริหารและอดีตผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคไทยรักไทยรวม จำนวน 22 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และจากเอกสาร และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาเรื่องการจัดการภายในองค์กรของพรรคยังมีความแตกแยก และขาดเอกภาพทำให้พรรคอ่อนแอ ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีการรัฐประหารบ่อยครั้ง กิจกรรมพรรคขาดความต่อเนื่อง ประกอบกับกฎหมายที่เป็นอุปสรรคไม่ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของพรรคการเมือง ทำให้พรรคยังไม่ถือได้ว่าเป็นสถาบันการเมือง ส่วนพรรคไทยรักไทยมีสาขาพรรคน้อยเกินไป ไม่รองรับความใหญ่โตของพรรค มีการตัดสินใจแบบรวมศูนย์ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์จนถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคเพราะถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมาย อายุพรรคจึงขาดความต่อเนื่อง (2) แม้ว่า พรรคประชาธิปัตย์มีสาขาพรรคจำนวนมาก แต่ยังขาดพลังดึงมวลชนเข้ามาเป็นแนวร่วมจึงยังแพ้การเลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ส่วนพรรคไทยรักไทยแม้จะเป็นพรรคขนาดใหญ่ แต่อำนาจรวมศูนย์เกินไป อีกทั้งไม่มีสาขาพรรครองรับความเติบโตและกลุ่มอำนาจจารีตนิยมต่อต้านและกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายจนถูกยุบพรรค และที่สำคัญที่สุดคือการทำรัฐประหารของทหารและกลุ่มอนุรักษ์นิยมเป็นการทำลายพรรคการเมืองไม่ให้ มีโอกาสพัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบัน (3) พรรคการเมืองไทยควรปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็น เอกภาพลดปัญหาความขัดแย้งและแตกแยกภายในกองทัพต้องยุติบทบาทการทหารนำการเมืองและถอยกลับมาสู่การเป็นทหารอาชีพ พรรคการเมืองที่เป็นสถาบันทางการเมืองควรตอบสนองผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าการแสวงผลประโยชน์เข้ากลุ่ม ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมภาคประชาชนและภาคประชาสังคมให้ได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมและตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคพรรคการเมือง และที่สำคัญต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนให้รู้เท่าทันและเป็นเกราะกำบังพรรคจากการรัฐประหารก็จะทำให้พรรคการเมืองมีโอกาสพัฒนาไปเป็นสถาบันการเมืองได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1002
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib148166.pdfเอกสารฉบับเต็ม36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons