กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10036
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย : กรณีศึกษาตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Roles of the village committees on political development in democracy : a case study of Bangtoie subistrict, Meuang district, Phang-nga Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศาล มุกดารัศมี ชัยพร ยังจีน, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี คณะกรรมการหมู่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์-- การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย (2) ปัญหาและอุปสรรคของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง รวม 10 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน 4 คน และตัวแทนคณะกรรมการหมู่บ้าน 6 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและเผชิญหน้า พร้อมกับสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งศึกษาจากเอกสาร ผลงานวิจัย และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แล้วนามาวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ 1) การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ 2) การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน 3) การจัดทำธรรมนูญหมู่บ้าน 4) การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 5) การส่งเสริมอุดมการณ์และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยให้แก่ราษฎร 6) การจัดประชุมลงมติหรือประชาคมหมู่บ้าน 7) การได้มาของคณะกรรมการหมู่บ้าน (2) ปัญหาและอุปสรรคของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่คณะกรรมการหมู่บ้านขาดความสามัคคีกันและมีความเห็นไม่ตรงกัน คณะกรรมการหมู่บ้านมีเวลาว่างไม่ตรงกันและไม่สามารถประชุมพร้อมเพรียงกันได้เนื่องจากประกอบอาชีพแตกต่างกันคณะกรรมการหมู่บ้านขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของตนเอง คณะกรรมการหมู่บ้านขาดงบประมาณในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน และคณะกรรมการหมู่บ้านบางคนไม่ได้สมัครใจที่จะมาเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ถูกบังคับเลือกจากประชาชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10036 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168783.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License