กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10042
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของระบบงานวิจัยและพัฒนาการทหารของกระทรวงกลาโหม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of Military Research and Development System, Ministry of Defense
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉิดลักษณ์ แก่นหิรันต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
โครงการวิจัยของกระทรวงกลาโหม
กระทรวงกลาโหม. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของระบบงานวิจัย และพัฒนาการทหารของกระทรวงกลาโหม 2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความมีประสิทธิผลของงานวิจัย และพัฒนาการทหารของกระทรวงกลาโหมในความสำเร็จของงานวิจัยแต่ละแผนงาน รวม 5 แผนงาน 3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ในระบบงานวิจัยและพัฒนาการทหารของ กระทรวงกลาโหม ในเรื่องวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ นโยบายการวิจัย และกระบวนการบริหารจัดการงานวิจัย และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และเสนอแนวทางแก้ไขในการปรับปรูงระบบงานวิจัยและพัฒนาการทหาร ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิผลยี่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) นักวิจัย 2) บุคลากรจากหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย 3) ที่ปรึกษาหรือนักวิชาการ และ 4) บุคลากรจากหน่วยงาน ผู้ใช้ 380 คน และเป็นการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานวิจัย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใชัในการ วิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพทุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียวเมื่อมีการวัดซํ้า โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับเครื่องมีอที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค แล้วนำข้อมูลมา จัดกลุ่มคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารจัดการ ความชัดเจนของนโยบาย ความรู้ ความสามารถของนักวิจัย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของระบบการวิจัยและพัฒนาการทหารของ กระทรวงกลาโหม โดยภายรวมสามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 46.6 2) ระดับความมีประสิทธิผล ในความสำเร็จของงานวิจัยและพัฒนาการทหารของกระทรวงกลาโหมแต่ละแผนงาน พบว่า แผนงานการ วิจัยเพื่อดำรงสภาพหรือเพิ่มประสิทธิภาพยุทธโธปกรณ์ มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) จุดแข็งของระบบงานวิจัยที่พบ คือองค์กรมีอำนาจในการบริหารจัดการและงบประมาณแบบรวมศูนย์ใว้ที่ส่วนกลาง และกองทัพมีความต้องการใช้ผลงานวิจัยอยู่มาก จุดอ่อน คือ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และนโยบาย ไม่ชัดเจน รวมทั้งการบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพ โอกาส คือ นโยบายระดับประเทศและหน่วยงาน ภายนอกพร้อมให้การสนับสนุน อุปสรรค คือ งบประมาณได้รับจัดสรรน้อย 4) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการ การบริหารงานบุคลซึ่งเป็นนักวิจัย รวมทั้งด้านงบประมาณมีการอนุมัติ ล่าช้าและไม่คล่องตัวในการใช้จ่าย แนวทางในการแก้ไขปรับปรุง ควรให้มีการจัดทำแผนงานวิจัยหลัก ให้เกิดความชัดเจน มีการติดตามและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง การกำหนดนโยบายควรกระทำ โดยหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องด้วยหลายฝ่าย และควรจัดให้มีการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักวิจัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10042
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118414.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons