กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10054
ชื่อเรื่อง: | แบบจำลองหน่วยแนะแนวสำหรับศูนย์วิทยพัฒนาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A guidance unit model for the Regional Distance Centers of Sukhothai Thammathirat Open University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เจียรนัย ทรงชัยกุล ประนอม ปุวิเส มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วัลภา สบายยิ่ง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การแนะแนว--แบบจำลอง |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองหน่วยแนะแนวสำหรับศูนย์วิทยพัฒนาของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 183 คน ได้แก่ (1) ผู้เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว 159 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว 19 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินและรับรอง แบบจำลอง 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถาม ความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคเคลฟาย และแบบประเมินและรับรองสำหรับกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองหน่วยแนะแนวสำหรับศูนย์วิทยพัฒนาซึ่งตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ทั่วประเทศของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1) มีลักษณะเด่นที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญามุ่งเน้นการให้บริการ อย่างเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักศึกษาพึ่งตนเองและสามารถพัฒนาตนเองได้ในการศึกษา ทางไกล ปณิธานเป็นหน่วยแนะแนวที่ให้บริการสนเทศอย่างมีคุณภาพเกี่ยวกับการศึกษาทางไกลแก่กลุ่มเป้าหมาย อย่างทั่วถึง เป้าหมายมุ่งเน้นการให้บริการแนะแนวด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัว-สังคม แก่กลุ่ม เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ด้วยสื่อที่ผู้รับบริการสะดวก ส่วนภารกิจการแนะแนวด้านการบริหาร ด้านการบริการ และ ด้านวิชาการ มีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ มีหัวหน้าหน่วยแนะแนวที่สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยในระดับปริญญาโท ทางการแนะแนว มีการสร้างเครือข่ายการแนะแนวกับชุมชน มีข้อสนเทศที่หลากหลาย ทันสมัย พร้อมให้บริการ มีห้องให้การปรึกษาที่เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ จำนวน 1 ห้อง มีนักแนะแนวมืออาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้การปรึกษา มีฐานข้อมูลของผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย และเป็นแหล่งเผยแพร่ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการแนะแนวกับ เครือข่ายการแนะแนว และ 2) เป็นแบบจำลองที่ดี สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้ง หน่วยแนะแนวได้ มีองค์ประกอบที่สำคัญของหน่วยแนะแนว ได้แก่ ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมาย นโยบาย ภารกิจการแนะแนวทั้งด้านการบริหาร ด้านการบริการ และด้านวิชาการ อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10054 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 10.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License