Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10061
Title: | ปัญหาการตรวจสอบการใช้สิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ |
Other Titles: | Problems with Inspection of the use of rights and liberties under the law on public gatherings |
Authors: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ พวงผกา มุ่งดี, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี เสรีภาพ การชุมนุมสาธารณะ--ไทย สิทธิการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงออก |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพุทธศักราช 2558 (3) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมตามกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทยและต่างประเทศ (4) หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พุทธศักราช 2558 การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษา การวิจัยเอกสารจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ รายงาน การวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์ ตำราทางวิชาการ บทความทางในเอกสาร ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมารวบรวมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการศึกษาหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา พบว่า (1) หลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน หลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการใช้อำนาจรัฐ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการชุมนุมสาธารณะ (2) พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พุทธศักราช 2558 ถือเป็นกฎหมายหลักในการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทยให้ชัดเจนและสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยกฎหมายได้บัญญัติหน้าที่ให้แก่ผู้จัดการชุมนุมในการดูแลให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ สำหรับผู้ชุมนุมก็จะต้องใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างระมัดระวัง มิเช่นนั้นเจ้าพนักงานที่ดูแลการชุมนุมอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุมนั้น และก่อให้เกิดอำนาจตามกฎหมายในการที่จะดำเนินการเพื่อยุติการชุมนุมนั้นได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนี้นอกจากจะเป็นกฎหมายที่วางหลักการในการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะแล้ว ยังได้วางหลักในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อยุติการชุมนุมไว้ด้วย (3) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมตามกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทยและต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ พบว่า ประเทศฝรั่งเศส แบ่งการชุมนุมเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การชุมนุมในพื้นที่จำกัดและการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ โดยมิได้กำหนดถึงขอบเขตในการชุมนุม มีเพียงกฎหมายกำหนดห้ามการชุมนุมสาธารณะหรือการเดินขบวนที่จะทำบนทางสาธารณะหรือถนนหลวงที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองเท่านั้น สำหรับประเทศอังกฤษ มีการแบ่งการชุมนุมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การเดินขบวนในที่สาธารณะ และการชุมนุมในที่สาธารณะ โดยในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพบเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการที่ประชาชนจะชุมนุมนั้นอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจเพียงแค่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมปฏิบัติเท่านั้น ในส่วนของประเทศเทศไทย พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พุทธศักราช 2558 ไม่มีการแบ่งประเภทการชุมนุม ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่ก็ตามและได้กำหนดห้ามจัดการชุมนุมในบางพื้นที่ด้วย (4) ผู้ทำการศึกษาได้เสนอแนะให้แก้ไขพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพุทธศักราช 2558 กรณีความหมายของคำว่า "ผู้จัดการชุมนุม" โดยยกเลิกข้อความที่ครอบคลุมถึงผู้ซึ่งเชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออก หรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น, เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การแจ้งการเดินขบวนสาธารณะ, แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับพื้นที่ที่ห้ามจัดการชุมนุมสาธารณะ และแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการยุติการชุมนุม ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลการชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10061 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168794.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License