กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10062
ชื่อเรื่อง: | ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องวิถีชีวิตของคนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Experience-based instructional packages in the social studies, religion and culture learning area on Northeastern people's way of life for Prathom Suksa V students in Sakon Nakhon Educational Service Area 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วาสนา ทวีกุลทรัพย์ ขนิษฐา คำหล้า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สุมนทิพย์ บุญสมบัติ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ นักเรียนประถมศึกษา--ไทย--สกลนคร เทคโนโลยีทางการศึกษา สังคมศึกษา--แบบเรียนสำเร็จรูป |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วิถีชีวิตของคนในภูมิภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไฮหย่อง (ภูเงินประชา นุกูล) เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 39 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิง ประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วิถีชีวิตของคนใน ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 7 การสำรวจ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยประสบการณ์ที่ 8 การปฏิบัติตามวัฒนธรรม ของคนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหน่วยประสบการณ์ที่ 11 การจัดทำโครงการเศรษฐกิจ พอเพียงในโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์ แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิง ประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วย E,/E, การทดสอบ ค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย ประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ 81.08/77.67, 82.08/78.33 และ 82.25/78.67 ตามลำดับเป็นไปตาม เกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดการสอน แบบอิงประสบการณ์ในระดับเห็นด้วยมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10062 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 15.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License