Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10063
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมและความพึงพอใจในการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอลในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting audiences' behavior and satisfaction toward digital terrestrial television system in Bangkok
Authors: อดิเรก วัชรพัฒนกุล
อนุสรณ์ ศรีมาลัยกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจของผู้ใช้บริการ.
โทรทัศน์กระจายเสียง
โทรทัศน์ดิจิตอล--ไทย
ผู้ชมโทรทัศน์--ไทย--ความพอใจของผู้ใช้บริการ.
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล 2 ) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล รวมทั้งปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบหรือการจัดการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลการวิจัยเป็นแบบเชิงสำรวจ โดยใช้ตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี Chi-Square test วิธี t-test F-test และวิธี One Way ANOVA รวมทั้งทำการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) ผู้รับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีการศึกษาสูงสุดที่ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานของรัฐ และมีรายได้ต่อแดือนระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท สำหรับพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล พบว่าผู้ชมส่วนใหญ่รับชมช่วงเวลาระหว่าง 18.01 - 22.00 น. โดยใช้เวลาในการรับชม 1 ครั้งต่อวัน ช่องรายการที่รับชมมากที่สุดคือช่อง MONO 29 และประเภทรายการที่รับชมมากที่สุดคือประเภทรายการข่าว 2) สำหรับผลจากการทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการรับชมภาคพื้นดินระบบดิจิตอล นอกจากนั้น เพศ และอาชีพ ยังส่งผลต่อความแตกต่างของระดับความพึงพอใจในการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล สำหรับผลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณพบว่าเพศ การศึกษา และอาชีพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจในการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล 3) ในส่วนของแนวทางในการพัฒนาระบบหรือการจัดการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ขอเสนอแนวทางให้ผู้ผลิตรายการควรมีการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านรายการที่นำเสนอเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกรับชมช่องรายการให้ตรงตามเป้าหมาย และสร้างผลตอบแทนสูงสุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10063
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168416.pdfเอกสาณฉบับเต็ม14.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons