Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10080
Title: | การประเมินระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 |
Other Titles: | An evaluation of internal quality assurance system of basic education schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 4 |
Authors: | สมคิด พรมจุ้ย ณัฐกูล เนียมจ้อย, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณ์ดี แสงประทีปทอง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ ประกันคุณภาพการศึกษา--ไทย--นครราชสีมา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงานของระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) ประเมินด้านผลผลิตของระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (4) ศึกษาแบบปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 180 แห่ง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานการประกันคุณภาพการศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา รวม 540 คน และสถานศึกษาที่มีแบบปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลของการประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกด้าน (2) ผลของการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน (3) ผลการประเมินผลผลิตโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินทุกมาตรฐาน (4) ผลการศึกษาแบบปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา บริหารงานด้วยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใช้วัฒนธรรมคุณภาพในบริหารงานการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบตรวจสอบได้ ครูผู้สอนมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงขึ้นและผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงตามมาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายที่สถานศึกษาได้กําหนดไว้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10080 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
165534.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License