กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10100
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of learning media regarding cultivation of vegetables sprout of farmer housewife group members in Takua Thung District, Phang Nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรเพ็ญ จักรพงศ์, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผัก--การหว่านเมล็ด
สารสนเทศทางการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีต่อสื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอก 2) พัฒนาสื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอก 3) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการเพาะผักงอกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4) ความพึงพอใจและความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มที่มีต่อสื่อการเพาะผักงอก และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ปี พ.ศ. 2562 จำนวนสมาชิกทั้งหมด 239 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนไว้ที่ 0.05 โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูล โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการจัดอันดับ เเละ T-test ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 53.09 ปี ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ย 10.91 ปี ประสบการณ์การทำการเกษตรเฉลี่ย 21.52 ปี ประสบการณ์การเพาะผักงอกเฉลี่ย 8.4 ปี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 13.23 ไร่ รายจ่ายค่าอาหารเฉลี่ย 399.00 บาท/วัน 1) ความต้องการสื่อเพื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอกอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านตัวอักษร สี และเสียง และด้านการใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอก ได้พัฒนาสื่อในรูปแบบของสื่อวีดิทัศน์รวมถึงเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ยูทูป ระยะเวลาของสื่อ 30 นาที โดยมีเนื้อหาสาระในด้านลักษณะและประโยชน์ของผักงอก วิธีการเพาะผักงอก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว 3) ความรู้ แหล่งความรู้เกี่ยวกับการเพาะผักงอกพบว่ามีความรู้ก่อนการเรียนรู้จากสื่ออยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความรู้หลังการเรียนรู้จากสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเด็นที่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีคะแนนความรู้น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ การเพาะในดินจะได้ผลผลิตดีที่สุด ได้ต้นอ่อนที่มีคุณภาพ แหล่งความรู้เกี่ยวกับการเพาะผักงอกอยู่ในระดับปานกลางโดยเฉพาะจากสื่อกลุ่มและสื่อบุคคล 4) ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเพาะผักงอกอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะด้านตัวอักษร สี และเสียง รองลงมา คือด้านภาพและภาษา ความคิดเห็นที่มีต่อประโยชน์ของผักงอกก่อนและหลังการเรียนรู้จากสื่ออยู่ในระดับมากโดยเฉพาะด้านการบริโภคและด้านร่างกาย 5) ปัญหาต่อสื่อการเรียนรู้การเพาะผักงอกอยู่ในระดับน้อย โดยปัญหาด้านการใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์มีมากกว่าด้านอื่น ๆ ได้แก่ประเด็นการเข้าถึงสื่อได้ยาก มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการเพิ่มเติมการฝึกปฏิบัติหลังการดูสื่อจะทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ควรทำแบบทดสอบก่อนและหลังดูสื่อ เว้นช่วง 10-15 นาที เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165209.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons