กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10106
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the adoption of quality longan production technology of longan collaborative farming group in Mae Tha district, Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรินทร์ ตันเส้า, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ลำไย--การผลิต--ไทย--ลำพูน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร 3) การยอมรับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตลำไยของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ลำไย พ.ศ. 2563 ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 627 คน กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคํานวณของทาโร่ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 154 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากจากรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 63.6 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.83 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.71 คน มีผลผลิตลำไย ปีการผลิต 2562/63 เฉลี่ย 1,128.57 กิโลกรัม/ไร่ มีต้นทุนในการผลิตลำไยปีการผลิต 2562/63 เฉลี่ย 10,482.47 บาท/ไร่ มีรายได้จากการขายผลผลิตลำไย ปีการผลิต 2562/63 เฉลี่ย 22,859.42 บาท/ไร่ ไม่มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุน 2) เกษตรกรมีขนาดพื้นที่ผลิตลำไยเฉลี่ย 3.46 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกลำไยในพื้นที่ราบ อายุต้นลำไยที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 21.04 ปี คนที่ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย ใช้น้ำจากแม่น้ำ ปลูกลำไยพันธุ์อีดอซื้อกิ่งตอนลำไยมาปลูกเอง ระยะการปลูก 8x8 เมตร มีการตัดแต่งกิ่งลำไย สังเกตต้นลำไยก่อนการให้ปุ๋ย ให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ ใช้แรงงานคน ในการกำจัดวัชพืชด้วยวิธีการตัดหญ้า มีการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและศัตรูพืช เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้เกณฑ์อายุของผลลำไย เก็บเกี่ยวลำไยแบบเป็นช่อ การขายผลผลิตแบบรูปร่างเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูปอบแห้งลำไย ขายผลผลิตลำไยให้กับพ่อค้าภายในท้องถิ่น ส่งผู้รับซื้อเป็นผู้กำหนดราคาซื้อ-ขาย 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพ ด้านการตัดแต่งกิ่งลำไย การชักนำการออกดอก การให้น้ำลำไย การให้ปุ๋ยลำไยแต่มีการยอมรับด้านการตัดแต่ง ผลลำไยค่อนข้างน้อย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตลําไยคุณภาพของเกษตรกร ได้แก่ ปัญหาการให้ปุ๋ยลำไย ปัญหาการตัดแต่งกิ่งลําไย ปัญหาการชักนําการออกดอก และปัญหาการตัดแต่งช่อผลลําไย ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 และแรงงานในการผลิตลำไย ปริมาณผลผลิตลำไย รายได้จากการขายผลผลิต และปัญหาการให้น้ำลำไย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพด้านการตัดแต่งช่อผลลําไยมากที่สุด และเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพด้านการตัดแต่งช่อผลลําไยมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10106
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165531.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons