Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10111
Title: การติดตามบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สำเร็จการศึกษา ปี พ.ศ. 2547-2549
Other Titles: A follow up study of the academic year 2004-2006 batch of bachelor degree graduates in computer science program, Faculty of Science, Mahidol University
Authors: สุพักตร์ พิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดำรัส วงศ์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
แสงเดือน พรพนมชัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์ --บัณฑิต
บัณฑิต--การติดตามผล.--ไทย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการทำงานของบัณฑิตหลังสำเร็จ การศึกษา (2) ประเมินสมรรถนะของบัณฑิตตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับความสำเร็จในการทำงานของบัณฑิต และ (4) ศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนา หลักสูตร 116 คน ผู้บังคับบัญชา 85 คน และเพื่อนร่วมงาน 110 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 3 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean = X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation = S.D.) F - test (One - way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการทำงานของบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษา ส่วนใหญ่ได้งาน ทำในภายใน ระยะเวลา 1 ปี ทำงานในตำแหน่ง Programmer ลักษณะงานที่ทำและความรู้ที่ใช้เป็นการ พัฒนาโปรแกรมด้วย Programming Language บัณฑิตมีความพึงพอใจในงานที่ทำมาก และการนำ ความรู้ในสาขาไปใช้มากที่สุด (2) สมรรถนะของบัณฑิต 3 ด้านโดยภาพรวม ตามความคิดเห็นของ ผู้ตอบทั้ง 3 กลุ่ม คือด้านความรู้ในสาขา อยู่ในระดับปานกลาง ด้านทักษะในการอยู่ในระดับมาก และ ด้านคุณลักษณะในการทำงานอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการ ทำงานของบัณฑิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ ประสบการณ์ระหว่างเรียน ความรู้ในสาขาและ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาขา ทักษะในการทำงาน และคุณลักษณะในการทำงาน และ(4) ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตร ของผู้ตอบทั้ง 3 กลุ่ม เห็นว่า ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เหมาะสมดี ด้านโครงสร้างของหลักสูตร ควรเพิ่มวิชาเรียนในทุกหมวดวิชา ผู้เข้าศึกษาควรมีพื้นฐาน คณิตศาสตร์ อาจารย์ผู้สอนควรมีความรู้ความสามารถในวิชาที่สอน มีเทคนิคในการถ่ายทอด การจัด กิจกรรมเสริมในการเรียนการสอนเหมาะสม แต่ขอให้เพิ่มระยะ เวลาในการฝึกปฏิบัติ การศึกษาดูงาน นอกสถานที่ ให้มากขึ้น การวัดและประเมินผลมีความชัดเจน อุปกรณ์การเรียนและอาคารสถานที่ ความเพียงพอ รายวิชาที่สำคัญต่อการทำงานตามความเห็นของบัณฑิตของทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ Database Management System, Computer Security และ Database Management
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10111
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons