กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10112
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines for a learning center based on sufficiency economy philosophy, Na Di District, Prachin Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญชลี เพียโคตร, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์สังคม--ไทย--ปราจีนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของศูนย์เรียนรู้ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ และ 4) แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ในปี 2562 จำนวน 350 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 187 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย และ 2) ผู้เข้าร่วมเวทีสนทนากลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการ 10 คน สมาชิก 10 คนรวมทั้งสิ้น 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เข้ามาศึกษาดูงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 38 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก 2) เห็นด้วยในระดับมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ด้านการบริหารจัดการด้านเนื้อหาการฝึกอบรมฐานการเรียนรู้ เห็นด้วยในระดับมาก 1 ประเด็น ได้แก่ ด้านบุคลากร และในระดับน้อย 1 ประเด็น ได้แก่ ด้านงบประมาณ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านปัจจัยภายใน พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ วัฒนธรรมการทํางาน ภาวะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างของกลุ่ม ด้านปัจจัยภายนอก พบว่าเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็น ได้แก่ นโยบายรัฐที่เกี่ยวข้องในระดับมาก 1 ประเด็น ได้แก่ ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในระดับปานกลาง 1 ประเด็น ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ พบว่ามี 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการจัดทําข้อเสนอโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ การพัฒนาองค์ความรู้แก่คณะกรรมศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์เรียนรู้ และการพัฒนากิจกรรมภายใต้การสนับสนุนของรัฐ.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10112
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165532.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons