กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10119
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ เรื่องการทำแอนิเมชันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับบุคลากรผลิตสื่อ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of experience-based e-training packages on creating animation by computer program for media production personnel of Office of Educational Technology, Sukhothai Thammathirat Open University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนิศ ภู่ศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพายุพา จันทร์ชนะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา --บุคลากร
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
การฝึกอบรม--การสอนด้วยสื่อ
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การทำแอนิเมชันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรผลิตสื่อ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 (2) ศึกษาความกว้าหน้าของผู้รับ การฝึกอบรมที่เรียนด้วยชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การทำแอนิเมชันด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้รับการฝึกอบรมที่เรียนด้วยชุดฝึกอบรมทาง อิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การทำแอนิเมชันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพคือ บุคลากรผู้ผลิตสื่อ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วย ประสบการณ์ที่ 1 การใช้เครื่องมือเพื่อการสร้างภาพในการทำแอนิเมชัน หน่วยประสบการณ์ที่ 2 การสร้าง รูปภาพและการปรับเปลี่ยนสี และ หน่วยประสบการณ์ที่ 3 การทำแอนิเมชันของสื่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (2) แบบทดสอบก่อนและหลังการเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของผู้รับการฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย ประสบการณ์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 (E,/E, มีคำดังนี้ 70.40/67.50, 71.65/67.50, และ 69.85/70.00 ตามลำกดับ) (2) ผู้รับการฝึกอบรมที่เรียนด้วยชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์มี ความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ผู้รับการฝึกอบรมที่เรียนด้วยชุด ฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์มีความคิดเห็นต่อคุณภาพของชุดฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบอิงประสบการณ์อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10119
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons