กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1011
ชื่อเรื่อง: การต่อสู้ของชุมชนต่อการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังชีวมวลในตำบลทรัพย์อนันต์ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community protests against a biomass power plant project by citizens of Sap Anan Sub-district, Tha Sae District, Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธโสธร ตู้ทองคํา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นุกูล พูลชัย, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
โรงไฟฟ้า -- ประชาพิจารณ์
โรงไฟฟ้า -- แง่สิ่งแวดล้อม
การสำรวจทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติและความรู้ความเข้าใจของประชาชนในตำบลทรัพย์อนันต์เกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวล (2) รูปแบบการต่อสู้ของชุมชนต่อการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในตำบลทรัพย์อนันต์ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลทรัพย์อนันต์ จำนวน 364 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้านในตำบล จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการต่อสู้ของชุมชน จำนวน 364 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดหมวดหมู่ข้อมูลเนื้อหาในเชิงคุณภาพเพื่อ เชื่อมโยงข้อมูลมาวิเคราะห์และอธิบายผลเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติและความรู้ความเข้าใจของประชาชนในตำบลทรัพย์ อนันต์เกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวล อยูในระดับปานกลาง ( x = 3.38) ประชาชนเพศหญิง และเพศชาย มีทัศนคติและความรู้ความเข้าใจต่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และระยะเวลาการอาศัยอยู่ในตำบลทรัพย์อนันต์ ทำให้ประชาชนที่มีทัศนคติและความรู้ความเข้าใจต่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 (2) รูปแบบการต่อสู้ของชุมชน เป็นการปกป้องและคุ้มครองท้องถิ่นของตน ให้ปลอดภัยจากมลพิษจากโรงงานไฟฟ้ าพลังงานชีวมวล คือ การร่วมประชุมและปรึกษาหารือการเคลื่อนไหวทางสังคมการยื่นข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐแก้ไขปัญ หาการเป็นปฏิปักษ์ต่อโรงงาน และประชาชนในชุมชนร่วมกันจัดองค์กรชุมชน เพื่อให้มีการโต้แย้งในเวทีสาธารณะให้ได้รับความสนใจจากองค์กรภายนอก ปัญหาที่เกิดจากการประกอบการผลิตไฟฟ้าของโรงงาน คือ ทำให้เกิดมลพิษ มีสารเคมีที่เป็นอันตรายจากการผลิต เช่น ฝุ่นละออง นำเสีย มลภาวะทางอากาศ ทำให้เกิดผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นต้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1011
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib147569.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons